บริษัทโบอิ้งเตรียมทดสอบส่งยาน CST-100 Starliner เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
บริษัทโบอิ้งเตรียมทดสอบส่งยาน CST-100 Starliner เข้าเชื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS โดยภารกิจในครั้งนี้จะไม่มีนักบินอวกาศควบคุมยานเพื่อทดสอบระบบต่าง ๆ ภายในยานขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะทภารกิจขนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในช่วงปี 2020
ยาน CST-100 Starliner คำว่า CTS เป็นชื่อย่อของคำว่า Crew Space Transportation ส่วนตัวเลข 100 หมายถึงความสูง 100 กิโลเมตรเป็นตำแหน่งของเส้น Karman Line ลักษณะภายนอกของยานมีความคล้ายกับยาน Apollo ที่เคยปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในอดีตเพียงแต่ยาน CST-100 Starliner ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่ารวมไปถึงสามารถขนส่งนักบินอวกาศได้สูงสุดมากถึง 7 คน
สำหรับการทดสอบส่งยาน CST-100 Starliner แบบไร้นักบินอวกาศจะมีขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม เวลาประมาณ 18.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยจรวดใช้จรวดขนส่งอวกาศ Atlas V จากฐานปล่อยจรวดหมายเลข LC-41 ฐานทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล รัฐฟอลริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
อ่านเพิ่มเติม : ยาน Boeing CST-100 Starliner แคปซูลอวกาศขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่สถานีอวกาศ
องค์การนาซากำลังมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมเทคโนโลยีอวกาศโดยบริษัทเอกชนภายใต้โครงการ Commercial Crew Development (CCDev) จุดประสงค์เพื่อพัฒนายานอวกาศที่สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้หลังจากนาซายกเลิกภารกิจของกระสวยอวกาศลำสุดท้ายไปในปี 2011 และต้องพึ่งพาเทคโนโลยียานอวกาศของรัสเซียมาโดยตลอด
อ่านเพิ่มเติม : นาซ่าเปิดตัวนักบินอวกาศสำหรับภารกิจยาน SpaceX Crew Dragon และยาน Boeing CST-100 Starliner
คลิปวิดีโอแนะนำยาน CST-100 Starliner
ที่มาของข้อมูล
A Starliner is Born
Starliner test flight passes launch readiness review