นาซ่าเปิดตัวนักบินอวกาศสำหรับภารกิจยาน SpaceX Crew Dragon และยาน Boeing CST-100 Starliner

นาซ่าเปิดตัวนักบินอวกาศ 9 ที่จะปฏิบัติภารกิจบนยานอวกาศรุ่นใหม่ล่าสุด 2 ลำเดินทางไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ที่โคจรอยู่รอบโลก นับเป็นก้าวที่สำคัญของนาซ่าหลังจากกระสวยอวกาศลำสุดท้ายลงจอดบนโลกเมื่อปี 2011 นาซ่าต้องใช้บริการขนส่งนักบินอวกาศของรัสเซียมาโดยตลอดซึ่งเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณจำนวนมากในแต่ละภารกิจ ประสบการณ์ด้านอวกาศและเทคโนโลยียานอวกาศใหม่ล่าสุดจะมนุษยชาติเข้าสู่การแข่งขันอวกาศยุคใหม่อย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง

ภารกิจทดสอบยาน Boeing CST-100 Starliner

นักบินภารกิจทดสอบยาน Boeing CST-100 Starliner ยานอวกาศลำนี้เป็นยานอวกาศรุ่นใหม่พัฒนาโดยบริษัท Boeing นักบินในภารกิจทดสอบมีด้วยกัน 3 คน ประกอบด้วย Eric Boe นักบินรบและนักบินเครื่องบินทดสอบจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามีประสบการณ์เคยปฏิบัติบนกระสวยอวกาศ Endeavour ในภารกิจ STS-126 และ STS-133

Christopher Ferguson นายทหารจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามีประสบการณ์ปฏิบัติภารกิจร่วมกับกระสวยอวกาศ Atlanis ในภารกิจ STS-115 และทำหน้าที่ผู้บัญชาการยาน Endeavour ในภารกิจ STS-126 รวมไปถึงผู้บัญชาการยาน Atlantis ในภารกิจ STS-135 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการกระสวยอวกาศ

Nicole Aunapu Mann นายทหารจากนาวิกโยธินกองทัพสหรัฐอเมริกาและนักบินรบเครื่องบินขับไล่ F/A-18 มีชั่วโมงบินสะสมมากถึง 2,500 เที่ยวบินบนเครื่องบินกว่า 25 ลำ ได้รับการคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศครั้งแรกในปี 2013 โดยภารกิจทดสอบยาน Boeing CST-100 Starliner ถือเป็นภารกิจแรกของเขาที่จะได้ขึ้นไปบนอวกาศ

ภารกิจนำยาน Boeing CST-100 Starliner เทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

Josh Cassada อดีตนักบินทดสอบจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามีชั่วโมงบินรวมกันกว่า 3,000 เที่ยวบินบนเครื่องบินรบแบบต่าง ๆ มากกว่า 40 ลำ เข้ารวมเป็นนักบินอวกาศกับนาซ่าในปี 2013 ภารกิจนำยาน Boeing CST-100 Starliner เทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในครั้งนี้ถือเป็นการขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของเขา

Sunita Williams อดีตนักบินทดสอบจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับนาซ่าในปี 1998 มีประสบการณ์ปฏิบัติภารกินบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS มากถึง 322 วันรวมไปถึงเคยเดินอวกาศ (Spacewalk) มากถึง 7 ครั้ง

ภารกิจทดสอบยาน SpaceX Crew Dragon

Robert Behnken วิศวกรและนักบินทดสอบในกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามีประสบการณ์ปฏิบัติภารกิจบนกระสวยอวกาศ Endeavour รวมกัน 2 สองครั้งคือภารกิจ STS-123 และ STS-130 นอกจากนี้ยังเคยปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศ (Spacewalks) รวมกันนานกว่า 37 ชั่วโมง

Douglas Hurley นักบินทดสอบจากนาวิกโยธินกองทัพสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะเข้าร่วมกับนาซ่าในปี 2000 มีประสบการณ์ปฏิบัติภารกิจ STS-127 บนกระสวยอวกาศ Endeavor และปฏิบัติภารกิจ STS-135 บนกระสวยอวกาศ Atlantis ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการกระสวยอวกาศ

ภารกิจนำยาน SpaceX Crew Dragon เทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

Victor Glover อดีตนักบินทดสอบกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามีชั่วโมงบินรวมกันกว่า 3,000 ชั่วโมงบนเครื่องบินมากกว่า 40 ลำ มีประสบการณ์นำเครื่องบินขึ้นปฏิบัติรบมากกว่า 40 ภารกิจนำเครื่องบินขึ้นลงบนเรือบรรทุกเครื่องบินมากกว่า 400 ครั้ง เข้าร่วมกับนาซ่าในปี 2013 ภารกิจนำยาน SpaceX Crew Dragon เทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในครั้งนี้ถือเป็นการขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของเขา

Michael Hopkins อดีตวิศวกรและนักบินทดสอบเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมกับนาซ่าในปี 2009 มีประสบการณ์ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS นาน 166 วันและได้ทำการเดินอวกาศ (Spacewalk) 2 ครั้ง

คลิปเปิดตัวนักบินอวกาศยาน Crew Dragon และยาน CST-100 Starliner

https://www.facebook.com/NASA/videos/10156454790471772/

ทำความรู้จักยาน SpaceX Crew Dragon

ยาน SpaceX Crew Dragon หรือ SpaceX Dragon 2 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2014 เป็นยานอวกาศที่ถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติภารกิจนำมนุษย์อวกาศขึ้นสู่อวกาศเพื่อเทียบท่ากับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในตอนแรกยานถูกออกแบบให้สามารถลงจอดในแนวตั้งโดยไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมชูชีพต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบให้ยานลงจอดด้วยร่มชูชีพ

ยาน SpaceX Crew Dragon สามารถบรรทุกนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คนขึ้นอยู่กับภารกิจเมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จแล้วสามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้ ยานมีกำหนดการทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกโดยไม่มีมนุษย์ควบคุมในเดือนพฤษจิกายน 2018 และปฏิบัติภารกิจส่งขึ้นสู่อวกาศโดยมีมนุษย์อวกาศควบคุมในเดือนเมษายน 2019 โดยใช้จรวดผลักดันทรงพลังมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน SpaceX Falcon Heavy ซึ่งจรวดรุ่นนี้ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท SpaceX

ทำความรู้จักยาน Boeing CST-100 Starliner

ยาน Boeing CST-100 Starliner เปิดตัวครั้งแรกประมาณปี 2011 ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Boeing ยานลำนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับยานอวกาศชื่อ Orion แต่ยาน CST-100 Starliner มีข้อกำจัดไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในอวกาศห้วงลึกได้แบบยาน Orion อาจกล่าวได้ว่ายาน CST-100 Starliner เป็นทายาทของยานอวกาศในตำนานยาน Apollo ที่เคยส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์

ยาน Boeing CST-100 Starliner ออกแบบให้สามารถบรรทุกนักบินอวกาศได้สูงสุด 7 คนขึ้นอยู่กับภารกิจ จุดเด่นของยาน CST-100 Starliner คือ สามารถใช้งานร่วมกับจรวดหลายรูปแบบเช่น จรวด Atlas V , จรวด Delta IV, จรวด Vulcan หรือแม้แต่จรวด Falcon 9 ที่พัฒนาโดยบริษัท SpaceX ยาน Boeing CST-100 Starliner มีกำหนดการทำภารกิจทดสอบขึ้นสู่อวกาศโดยไม่มีมนุษย์ควบคุมในช่วงปี 2018-2019 และภารกิจขึ้นสู่อวกาศโดยมีมนุษย์ควบคุมเพื่อเทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในช่วงปีกลางปี 2019

ยุคใหม่ของการแข่งขันด้านอวกาศ

มนุษยชาติเดินทางมาถึงการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศยุคใหม่อีกครั้งหลังจากมีการแข่งขันอย่างดุเดือดในช่วงยุคสงครามเย็นซึ่งแรงขับเคลื่อนในยุคนั้นขับเคลื่อนด้วยสงครามและแนวคิดทางการเมือง การแข่งขันในอวกาศยุคใหม่มนุษยชาติมองไปยังอวกาศด้วยความต้องการสำรวจและตั้งถิ่นฐานบนอวกาศและอาณานิคมนอกโลก ในอนาคตอันใกล้นี้อวกาศจะกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมวงกว้าง เราจะพบกับการสำรวจอวกาศที่ตื่นเต้น การกลับไปดวงจันทร์อีกครั้งหรือแม้แต่การส่งมนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารเป็นครั้งแรก

ที่มาของข้อมูล
nasa.gov, Spaceflightnow.com

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *