Skylon เครื่องบินอวกาศเดินทางไปทุกที่บนโลกภายในเวลา 4 ชั่วโมง

เครื่องบินอวกาศ Skylon วิจัยพัฒนาโดยบริษัท Reaction Engines Limited (REL) ประเทศอังกฤษสามารถขนส่งผู้โดยสารเดินทางไปยังทุกเมืองบนโลกภายในเวลา 4 ชั่วโมงและสามารถขนส่งดาวเทียมพร้อมนักบินอวกาศเดินทางขึ้นสู่วงโคจรของโลก เครื่องบินอวกาศ Skylon ใช้เครื่องยนต์ SABRE ที่บริษัทกำลังวิจัยพัฒนาโดยมีกำหนดการทดสอบการบินแรกภายในปี 2019

เครื่องบินอวกาศ Skylon

เครื่องบินอวกาศ Skylon มีการออกแบบที่คำนึงถึงหลักอากาศพลศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมเนื่องจากมันถูกออกแบบให้บินโดยความเร็วสูง มีความยาวตลอดเครื่องประมาณ 83 เมตรปีกว้าง 26 เมตร ใช้เครื่องยนต์หลัก SABRE จำนวน 2 เครื่องถูกติดตั้งไว้บริเวณปีก สามารถปรับโหมดการควบคุมการบินได้แบบมีกัปตันที่เป็นมนุษย์ขับหรือการใช้ระบบอัตโนมัติทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับภารกิจการใช้งาน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 24-30 คน บรรทุกน้ำหนักสัมภาระได้ประมาณ 17 ตัน โดยสัมภาระจะถูกจัดเก็บไว้บริเวณกลางลำของเครื่องบินส่วนด้านหัวและท้ายจะใช้บรรจุเชื้อเพลิงเหลวสำหรับเครื่องยนต์จรวด

Specifications (Skylon D1)

เครื่องยนต์ SABRE เครื่องยนต์ลูกผสม

Skylon ใช้เครื่องยนต์ SABRE มีลักษณะเป็นเเครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์เจ็ทเครื่องบินและเครื่องยนต์จรวดทรงพลังสามารถทำความเร็วให้กับเครื่องบิน Skylon พุ่งทะยานได้ 5 เท่าของความเร็วเสียงในสภาพชั้นบรรยากาศโลกหรือในกรณีโคจรอยุ่ในรอบในอวกาศสามารถทำความเร็วได้ 25 เท่าของความเร็วเสียง แนวคิดเริ่มแรกของเครื่องยนต์แบบใหม่นี้เกิดขึ้นในปี 2009 โดยองค์การอวกาศสหราชอาณาจักร (UK Space Agency) เพื่อพัฒนาเครื่องยนต์ที่มีความปลอดภัยสูงสำหรับเครื่องบินอวกาศเชิงพาณิชย์

เครื่องบิน Skylon ถูกติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเรียกว่า Procooler เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้อากาศเข้าสุ่เครื่องยนต์ได้มากกว่าปกติซึ่งช่วยให้เครื่องยนต์เจ็ทสามารถทำงานได้ดีกว่าเครื่องยนต์เจ็ททั่วไป เมื่อเครื่องบิน Skylon ต้องการบินขึ้นสู่อวกาศเครื่องยนต์จะปรับโหมดการทำงานเป็นใช้พลังงานเชื้อเพลิงจรวดเพื่อส่งเครื่องบิน Skylon ทะยานขึ้นสู่อวกาศ

คลิปอธิบายการทำงานของเครื่องยนต์ SABRE

การสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA)

ปัจจุบันบริษัท Reaction Engines ได้ร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องบิน Skylon ให้สำเร็จเพื่อลดค่าใช้จ่ายในภารกิจอวกาศโดยได้รับเงินทุนสำหรับวิจัยพัฒนาเครื่องยนต์ SABRE ประมาณ 60 ล้านปอนด์โดยทาง องค์การอวกาศยุโรปวางแผนจะนำเครื่องบิน Skylon มาใช้ในปี 2020

เครื่องบินอวกาศ Skylon ถูกออกแบบให้สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายทั้งในภารกิจขนส่งดาวเทียมหรือขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ เนื่องจากรูปทรงของยานทำให้มันมีหน้าต่างสำหรับมองด้านนอกที่น้อยกว่าเครื่องบินปกติแต่สามารถทดแทนได้ด้วยการใช้กล้องความคมชัดสูงบันทึกภาพนอกจากภายนอกเพื่อฉายไปยังพนังด้านในของเครื่องบินแบบ 360 องศา (Aerospace Windowless Aircraft) สำหรับราคาตั๋วโดยสารสำหรับเที่ยวบินอวกาศ 14 วันทางบริษัท Reaction Engines ประมาณราคาเอาไว้ที่ 350,000 ยูโรหรือประมาณ 13,500,000 บาทไทยต่อหนึ่งที่นั่งซึ่งเป็นราคาที่ไม่แพงมาจนเกินไปสำหรับทัวร์อวกาศของมหาเศรษฐี

อวกาศยังต้องการจรวดทรงพลัง

เครื่องบินอวกาศ Skylon มีข้อดีในเรื่องความสามารถที่หลากหลายบินขนส่งเชิงพาณิชย์ความเร็งสูงในชั้นบรรยากาศโลกและสามารถบินขึ้นสู่อวกาศโดยไม่จำเป็นใช้ฐานปล่อยจรวด แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักบรรทุกที่น้อยกว่าจรวดทรงพลังเช่น Falcon Heavy , Delta IV Heavy หรือเจ้ายักษ์ใหญ่จรวด SpaceX BFR ซึ่งมีขีดความสามารถในการขนส่งยานสำรวจอวกาศขนาดใหญ่หรือชิ้นส่วนแคปซูลสถานีอวกาศ ดังนั้นเครื่องบินอวกาศ Skylon อาจเหมาะสำหรับภารกิจอวกาศที่มีสัมภาระในปริมาณที่ไม่มากนัก เช่น การขนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศ ISS หรือการขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจรของโลก

ที่มาของข้อมูล
futurism.com, theverge.com, reactionengines.co.uk, en.wikipedia.org

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *