อะพอลโล 11 ปฏิบัติการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์
การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์เกิดขึ้นในช่วงยุคสงครามเย็นเป็นการแข่งขันด้านอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตปัจจุบันคือประเทศรัสเซีย ในช่วงเริ่มต้นของการแข่งขันด้านอวกาศฝั่งอเมริกาตกเป็นฝ่ายตามหลังสหภาพโซเวียตมาโดยตลอดและชาวอเมริกาจะยอมให้สหภาพโซเวียตส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ได้ก่อน กล่าวกันว่า “ชาวอเมริกาไม่สามารถนอนหลับได้ในค่ำคืนที่ดวงจันทร์มีธงของพรรคคอมมิวนิสต์ปักอยู่”
25 พฤษภาคม 1961 จอห์น เอฟ. เคเนดี (John F. Kennedy) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “…ข้าพเจ้าเชื่อว่าประเทศนี้สมควรรับภาระที่จะบรรลุเป้าหมายก่อนสิ้นทศวรรษนี้ ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ และกลับคืนสู่โลกอย่างปลอดภัย ไม่มีโครงการอวกาศใดในช่วงเวลานี้ที่น่าทึ่งสำหรับมนุษยชาติและสำคัญต่อการสำรวจอวกาศในระยะยาว และไม่มีโครงการใดที่ยากเย็นและแพงในการบรรลุเป้านี้…”
โครงการบันได 3 ขั้นสู่ดวงจันทร์
บันได 3 ขั้นสู่ดวงจันทร์ประกอบด้วยโครงการอวกาศสำคัญ 3 โครงการ เริ่มจากโครงการเมอร์คิวรี่ (Mercury) ในช่วงปี 1961-1963 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ เช่น การส่งมนุษย์อวกาศคนแรกขึ้นสู่วงโคจรของโลก โครงการเจมินี (Gemini) ในช่วงปี 1964-1966 เพื่อทดสอบการส่งมนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ เช่น การเชื่อมต่อยานอวกาศ การเดินอวกาศ และทดสอบการใช้ชีวิตในอวกาศเป็นระยะเวลาหลายวัน โครงการอะพอลโล (Apollo) ในช่วงปี 1966-1975 เพื่อส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์และเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย
โครงการอะพอลโลเริ่มต้นด้วยโศกนาฏกรรม
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จกับโครงการเมอร์คิวรี่ (Mercury) และ โครงการเจมินี (Gemini) แต่สำหรับโครงการอะพอลโล (Apollo) เริ่มต้นด้วยโศกนาฏกรรมไฟไหม้ยานอะพอลโล 1 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967 ส่งผลให้นักบินอวกาศ 3 คนประกอบด้วยกัส กริสสัน (Gus Grissom) เอ็ดเวิร์ส ไวส์ (Edward White) และโรเจอร์ คาร์ฟฟี่ (Roger Chaffee) เสียชีวิตภายในยาน ขณะทำการทดสอบการทำงานของยานอวกาศบนแท่นปล่อยจรวด ส่งผลให้โครงการหยุดชะงักไประยะหนึ่งเพื่อทำการตรวจสอบระบบความปลอดภัยและนาซ่าเลือกที่ไม่ใช้นักบินอวกาศบังคับยานอะพอลโลกจนถึงยานอะพอลโล 7 ถึงจะมีนักบินอวกาศบังคับยาน
ภารกิจอะพอลโลก 11
ภารกิจอะพอลโลก 11 ใช้จรวด Saturn V บรรทุกยานอวกาศ 2 ลำขึ้นสู่อวกาศประกอบด้วยยานบังคับการ (Apollo Command/Service Module) มีชื่อเรียกว่า Columbia ทำหน้าที่เป็นยานควบคุมภารกิจบรรทุกพลังงานและทรัพยากรสำหรับดำรงชีพระหว่างเดินทางไปดวงจันทร์ให้กับนักบินอวกาศ และยานลงจอดบนดวงจันทร์ (Lunar Module) มีชื่อเรียกว่า Eagle ทำหน้าที่เป็นยานสำหรับลงจอดบนดวงจันทร์
ลูกเรืออะพอลโล 11
ลูกเรืออะพอลโล่ 11 ประกอบด้วย นีล อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) ผู้บังคับการ, เอดวิน อัลดริน (Adwin Aldrin) และ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) นีล อาร์มสตรองและเอดวิน อัลดรินเป็นนักบินอวกาศ 2 คนที่รับหน้าที่นำยาน Eagle ลงจอดบนดวงจันทร์ ส่วนไมเคิล คอลลินส์รับหน้าที่บังคับยาน Columbia โคจรรอบดวงจันทร์เพื่อรอรับนักบินอวกาศ 2 คนที่กลับขึ้นมาจากผิวดวงจันทร์
การเดินทางไปดวงจันทร์
จรวดแซทเทิร์น 5 (Saturn V) ทะยานขึ้นสู่อวกาศบรรทุกยานอะพอลโลพร้อมนักบินอวกาศ 3 คนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1969 จากฐานปล่อยจรวดหมายเลข 39A บริเวณศูนย์อวกาศเคนเนดี ระหว่างเดินทางไปดวงจันทร์ยานบังคับการ Columbia จะทำการหมุนกลับด้านเพื่อปรับตำแหน่งการเชื่อมต่อกับยาน Eagle ทำให้นักบินอวกาศสามารถเข้าสู่ยาน Eagle โดยไม่จำเป็นต้องเดินอวกาศ (EVA) ระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์คือ 384,400 กิโลเมตรยานอะพอลโล 11 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 วันจึงถึงดวงจันทร์
การลงจอดบนดวงจันทร์
วันที่ 20 กรกฏาคม 1969 นีล อาร์มสตรองและเอดวิน อัลดรินย้ายตัวเองจากยานบังคับการ Columbia เข้าสู่ยาน Eagle เพื่อตรวจสอบความพร้อมของยานก่อนที่ยาน Eagle จะแยกตัวออกจากยาน Columbia เพื่อลงจอดบนดวงจันทร์บริเวณที่เรียกว่าทะเลแห่งความเงียบสงบ (Sea of Tranquility)
วันที่ 20 กรกฏาคม 1969 เวลา 20.18 นาฬิกาหลังจากยาน Eagle ลงจอดบนดวงจันทร์นีล อาร์มสตรองในฐานะผู้บังคับการออกจากยาน Eagle เพื่อเป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ จากบุคลิกส่วนตัวที่นีล อาร์มสตรองเป็นคนฉลาดที่พูดน้อยจึงยังไม่ทราบว่าอะไรดลใจให้เขากล่าวประโยชน์แรกบนดวงจันทร์ที่กลายเป็นตำนานว่า “นี่คือก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (That’s one small step for man, one giant leap for mankind) ต่อมาอีก 20 นาทีเอดวิน อัลดรินก้าวออกจากยาน Eagle ไปสมทบกับนีล อาร์มสตรองที่เดินสำรวจอยู่บนผิวดวงจันทร์ ทั้งคู่ใช้เวลาสำรวจดวงจันทร์นาน 21 ชั่วโมง 36 นาที โดยเก็บหินจากดวงจันทร์น้ำหนัก 21.55 กิโลกรัมขึ้นยานมาด้วย
การเดินทางกลับโลก
ยาน Eagle เดินทางขึ้นจากผิวดวงจันทร์อย่างง่ายดายโดยใช้พลังงานที่ไม่มากนักเนื่องจากดวงจันทร์มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลก เมื่อยาน Eagle เชื่อมต่อกับยานบังคับการ Columbia นีล อาร์มสตรองและเอดวิน อัลดรินก็ย้ายตัวเองกลับมายังยานบังคับการ Columbia พร้อมก้อนหินของฝากจากดวงจันทร์ ก่อนที่นักบินทั้ง 3 จะโบกมืออำลาดวงจันทร์และทิ้งยาน Eagle ไว้เบื้องหลังเพื่อเดินทางกลับโลก นักบินอวกาศทั้ง 3 คนเดินทางกลับโลกด้วยยานบังคับการ Columbia เข้าสู่วงโคจรของโลกและลงจอดบริเวณทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 1969 เวลา 16.50 นาฬิกา
หลังความสำเร็จของอะพอลโล 11 มีชาวอเมริกาอีก 22 คนที่เดินทางไปดวงจันทร์ ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากวิศัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมและพลังการสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรอีกหลายแสนคนที่อยู่เบื้องหลัง ในอนาคตอันใกล้มนุษย์กำลังเดินทางไปดาวอังคารไม่ใช่แค่สำรวจแต่เพื่อสร้างโลกใบใหม่อาณานิคมดาวอังคารนั้น คือ ภารกิจแห่งชีวิตเพื่อมนุษยชาติ
คลิปภารกิจอะพอลโล 11
ที่มาของข้อมูล
nasa.gov