SpaceX ปล่อยดาวเทียม TESS เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2018 บริษัท SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite ดาวเทียมค้นหาและสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบ โดยคาดว่าตลอดภารกิจ 2 ปีในอวกาศดาวเทียม TESS จะค้นหาและสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบได้อย่างน้อย 200,000 ดวงในจำนวนนี้มีกว่ามากกว่า 2,000 ดวงมีสภาพเอื้อต่อการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต

จรวด Falcon 9

จรวด Falcon 9 ทะยานขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยจรวด LC-40 แหลมคานาเวอรัล หลังจรวดส่วน First Stage แยกตัวออกจาก Second Stage จรวดได้ทำการลงจอดบนเรือโดรนไร้คนขับชื่อ Of Course I Still Love You ที่จอดรออยู่กลางมหาสมุทรโดย ​SpaceX ได้ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการยึดตัวจรวดไว้กับเรือขณะเดินทางกลับเข้าฝั่ง ในภารกิจนี้ SpaceX ได้ทำการเก็บฝาครอบดาวเทียมเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่รวมไปถึงการทดสอบนำจรวดส่วน Second Stage กลับมาใช้งานใหม่ด้วยการใช้เทคนิคบอลลูนขนาดยักษ์ ซึ่งถือเป็นการนำส่วนต่าง ๆ ของจรวดมาใช้งานใหม่เกือบทั้งหมดเพื่อลดต้นทุนการปล่อยจรวดให้ได้มากที่สุด

ดาวเทียม TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite

โครงการดาวเทียม TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite เกิดจากความร่วมระหว่างศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด (NASA’s Goddard Space Flight Center) และ MIT เพื่อค้นหาและสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวเทียม TESS จะถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้ยานใช้เวลาประมาณ 13.7 วันโคจรรอบโลก วงโคจรห่างจากโลกระหว่าง 108,000 กิโลเมตรถึง 373,000 กิโลเมตร โดยจะส่งข้อมูลกลับมายังโลกเป็นช่วง ๆ ขณะที่โคจรเข้าใกล้โลก

ดาวเทียม TESS ติดตั้งอุปกรณ์ค้นหาและสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบสามารถจับภาพอวกาศได้ประมาณ 85% ของท้องฟ้าทั้งหมดและทำการแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 26 Sector เพื่อการสังเกตุที่ละส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงปีแรกของภารกิจดาวเทียม TESS จะสำรวจพื้นที่ท้องฟ้า 13 Sector ทางด้านใต้และภารกิจในช่วงปีที่สองจะสำรวจพื้นที่ 13 Sector ทางด้านเหนือโดยสามารถค้นหาและสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างออกไปอย่างน้อย 300 ปีแสงและสามารถตรวจจับการแผ่รังสีของแสงจากดาวเคราะห์เพื่อหาองค์ประกอบของน้ำและโมเลกุลของดาวเคราะห์ที่อาจเอื้อต่อการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตต่างดาว

คลิปแนะนำดาวเทียม TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite

ดาวเคราะห์นอกระบบ Exoplanet

ดาวเคราะห์นอกระบบ (Exoplanet) คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงอื่นนอกจากระบบสุริยะปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่สามารถยืนยันได้แล้วโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler Space Telescope) กว่า 3,400 ดวงแต่หน้าเสียดายที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์กำลังหมดอายุการใช้งานในอีกไม่นานนี้ สำหรับวิธีการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบนักวิทยาศาสตร์ใช้เทคนิคการตรวจจับสเป็คตรัมของแสงเพื่อคำนวนขนาดและความเร็วในการโคจรผ่านดาวฤกษ์รวมไปถึงส่วนประกอบของก๊าซที่มีบนดาว คาดว่าเฉพาะในกาแลคซี่ทางช้างเผือกมีดาวเคราะห์ที่ยังรอการค้นพบอีกมากกว่า 4 แสนล้านดวงซึ่งเป็นภารกิจที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ อารยธรรมมนุษย์อาจสูญสิ้นไปเสียก่อนแต่มันคุ้มค่าที่จะค้นหาและสังเกตการณ์

ที่มาของข้อมูล
NASA TESS, Space.com, NASAGoddard

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *