สถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab) สถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา

สถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในวันที่ 11 พฤษภาคม 1973 จากฐานปล่อยจรวด LC-39A ศูนย์อวกาศเคนเนดีโดยใช้จรวด Saturn INT-21 สถานีอวกาศแห่งนี้มีขนาดประมาณ 25×17 เมตร น้ำหนักรวมทั้งหมดประมาณ 77 ตัน ใช้เวลาโคจรรอบโลกครั้งล่ะ 93 นาที โคจรเหนือพื้นโลกประมาณ 434 กิโลเมตร ตามกำหนดการเดิมนาซ่ามีแผนการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำการบนสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab) และภารกิจส่งยานไร้นักบินอวกาศควบคุมรวมทั้งหมด 5 ภารกิจ คือ Skylab 1-5 และภารกิจ SMEAT แต่เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุและสภาพของสถานีอวกาศทำให้นาซายกเลิกภารกิจ Skylab-5 รวมไปถึงภารกิจ Skylab Rescue ที่ถูกเตรียมเอาไว้ในกรณีที่ต้องทำการช่วยเหลือนักบินอวกาศฉุกเฉิน

ภารกิจของสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab)

ภารกิจ Skylab 1 ไม่มีนักบินประจำการ ภารกิจ Skylab 2 นักบินอวกาศประจำการ 28 วัน ภารกิจ Skylab 3 นักบินอวกาศประจำการ 60 วัน ภารกิจ Skylab 4 นักบินอวกาศประจำการ 84 วัน ภารกิจ Skylab 5 ภารกิจนี้ถูกยกเลิก ภารกิจ Skylab Rescue ภารกิจนี้ตัวยานถูกออกแบบให้บรรทุกนักบินอวกาศได้ถึง 5 คน อย่างไรก็ตามภารกิจนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นและหยุดอยู่เพียงแค่การเตรียมความพร้อม

อุบัติเหตุบนสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab)

สถานีอวกาศถูกใช้เป็นสถานที่ทดสอบทางด้านวิทยาศาสตร์สำคัญ เช่น การศึกษาดวงอาทิตย์ การทดสอบสภาพร่างกายของมนุษย์เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน แต่ในภารกิจ Skylab 2 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศจะเข้าประการบนสถานีอวกาศได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นทำให้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมความร้อนของสถานีอวกาศมีปัญหาส่งผลให้นักบินอวกาศแทบจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในสถานีอวกาศ Skylab

อย่างไรก็ตามทีมวิศวะกรบนโลกและนักบินอวกาศในภารกิจ Skylab 2 ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์เอาไว้ได้แต่ต้องปรับภารกิจประจำการบนสถานีอวกาศจากเดิน 8 เดือนเหลือแค่ 3 เดือน เมื่อนักบินอวกาศในภารกิจ Skylab 2 เดินทางกลับโลกนาซ่าส่งนักบินอวกาศขึ้นไปอีก 2 ครั้งคือในภารกิจ Skylab 3 และ Skylab 4 รวมระยะเวลาที่สถานีอวกาศ Skylab  โคจรอยู่บนอวกาศนานประมาณ 7 ปี และในวันที่ 11 กรกฏาคม 1979 สถานีอวกาศ Skylab  ก็ได้ปลดประจำการและโคจรตกลงบนพื้นโลกบริเวณเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศไม่หมดตกลงมาทับวัวโชคร้ายตัวหนึ่งเสียชีวิต

แม้จะเป็นภารกิจสั้น ๆ ของสถานีอวกาศ Skylab แต่การทดลองต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการอยู่อาศัยบนอวกาศเป็นระยะเวลานานรวมถึงการทดลองด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดและนำมาใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติภารกิจอยู่ในปัจจุบัน

ที่มาของข้อมูล

nasa.gov, abyss.uoregon.edu, davidreneke.com, en.wikipedia.org

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation