ยาน Parker Solar Probe ปฏิบัติการสำรวจดวงอาทิตย์

ยานอวกาศ Parker Solar Probe ปฏิบัติสำรวจดวงอาทิตย์ยานอวกาศลำนี้ถูกออกแบบให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อย่างไม่เคยมียานอวกาศลำไหนทำได้มาก่อนเพื่อศึกษาดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่เป็นแกนหลักของระบบสุริยะ เนื่องจากดวงอาทิตย์มีอิทธิต่อดาวทุกดวงการศึกษาทำความเข้าใจดวงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญและภารกิจ Parker Solar Probe ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของมนุษยชาติในการทำความเข้าใจจุดกำเนิดของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะ

ยาน Parker Solar Probe

ยานอวกาศ Parker Solar Probe ชื่อของยานถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับยูจีน ปาร์กเกอร์ (Eugene Newman Parker) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้ค้นพบลมสุริยะหรือสุริยวาต (solar wind) และสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะชั้นนอก ยานอวกาศ Parker Solar Probe อยู่ในกลุ่มยานอวกาศประเภทหุ่นยนต์ยานมีน้ำหนักประมาณ 685 กิโลกรัม ตัวยานมีความสูงประมาณ 3 เมตรความกว้างประมาณ 2.3 เมตร วิจัยพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการฟิสิกส์มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ซึ่งเคยมีผลงานการพัฒนาดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศรวมไปถึงระบบป้องกันขีปนาวุธให้กับรัฐบาลสหรัฐ

Parker Solar Probe ปฏิบัติการทนความร้อนมากที่สุด

ปฏิบัติการยาน Parker Solar Probe ใช้เวลา 7 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 24 รอบ ยานเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะ 6.2 ล้านกิโลเมตรถือเป็นยานที่สามารถเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างและเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ

เนื่องจากยาน Parker Solar Probe เดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จึงถูกติดตั้งเกราะป้องกันความร้อนที่ทำจากคาร์บอนคอมโพสิต (Carbon-Carbon Composite) ความหนาประมาณ 4.5 นิ้วทนต่อความร้อนได้มากถึง 1,377 องศาเซลเซียสวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตนี้มักถูกใช้สร้างเป็นกลวยของจรวดเนื่องจากทนทานต่อความร้อนสูง ภารกิจยาน Parker Solar Probe เพื่อศึกษาปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกและดาวดวงอื่นในระบบสุริยะ ภารกิจสำคัญออกเป็น 4 อย่างด้วยกัน

  • ศึกษาต้นกำเนิดของอนุภาคลมสุริยะวัดคุณสมบัติของอิเล็กตรอนโปรตอนและฮีเลียมไอออนโดยใช้อุปกรณ์ชื่อว่า Solar Wind Electrons Alphas and Protons Investigation (SWEAP)
  • ศึกษาลมสุริยะโดยใช้กล้องโทรทรรศน์พิเศษ (Wide-field Imager for Solar Probe Plus (WISPR) ถ่ายภาพของโคโรนา (Corona) และชั้น Heliosphere ของดวงอาทิตย์
  • ตรวจสอบสนามแม่เหล็กด้วยเครื่องแมกนิโทมิเตอร์ (Electromagnetic Fields Investigation (FIELDS) วัดคลื่นกระแทกจากพลาสมาในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
  • การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์โดยใช้เครื่องวัดมวลสาร (Integrated Science Investigation of the Sun ) เพื่อศึกษาอนุภาคที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์

ยาน Parker Solar Probe มีกำหนดการส่งขึ้นสู่อวกาศในระหว่างวันที่ 11-23 สิงหาคม 2018 โดยใช้จรวด Delta IV Heavy จากศูนย์อวกาศบริเวณแหลมคะแนเวอรัลรัฐฟลอริดาสหรัฐอเมริกา จรวด Delta IV Heavy พัฒนาโดยบริษัท United Launch Alliance เปิดตัวครั้งแรกในปี 2004 เคยถูกส่งขึ้นสู่อวกาศสำเร็จมาแล้ว 8 ครั้ง จรวดถูกออกแบบให้ขนส่งยานอวกาศ Orion ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้เป็นยานที่ปฏิบัติการในอวกาศห้วงลึก จรวด Delta IV Heavy เป็นจรวดขนาดใหญ่ทำให้การปล่อยจรวดในครั้งนี้น่าติดตามชมเป็นอย่างมาก

คลิปแนะนำปฏิบัติ Parker Solar Probe

ที่มาของข้อมูล
nasa.gov, en.wikipedia.org, parkersolarprobe.jhuapl.edu

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation