แนวคิดการออกแบบเทคโนโลยี Hyperloop จากบริษัท Priestmangoode
ในงาน London Design Festival 2017 บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบชั้นนำชื่อ Priestmangoode ได้เปิดแผยเบื้องหลังแนวคิดการออกแบบเทคโนโลยี Hyperloop การขนส่งความเร็วสูงที่คาดกันว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางของมนุษย์ชาติในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัท Priestmangoode มีชื่อเสียงจากการออกแบบและสร้างภาพต้นแบบเทคโนโลยีขนส่งเช่น รถไฟฟ้าใต้ดินกรุงลอนดอน เครื่องบินโดยสารแบบยืน บอลลูนอวกาศ เครื่องบินโดยสาร รถไฟฟ้าความเร็วสูงในอังกฤษ
สำหรับแนวคิดการออกแบบเทคโนโลยี Hyperloop นี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Priestmangoode กับบริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HTT) เพื่อออกแบบเทคโนโลยี Hyperloop ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีกับการเดินทางรูปแบบใหม่ให้กับผู้โดยสาร Capsule ห้องโดยสารจะใช้วัสดุชนิดพิเศษ (ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดอาจเป็นวัสดุที่เกิดจากนาโนเทคโนโลยีใช้การเรียงตัวของอะตอมของคาร์บอนทำให้เกิดวัสดุที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา) โดยวัสดุชนิดนี้จะทำให้ผู้โดยสาร Hyperloop ปลอดภัยมากขึ้น
“Hyperloop คือ การพัฒนาระบบการขนส่งรูปแบบใหม่แห่งศตวรรษและมันจะกลายเป็นรูปแบบการขนส่งที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางระหว่างประเทศเชื่อมต่อโลกเข้าหากัน” Paul priestman ประธานบริษัท priestmangoode กล่าวอธิบายเพิ่มเติม
บริษัท HTT กำลังวิจัยพัฒนา Capsule ห้องโดยสารร่วมกับบริษัท Carbures S.A บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาชิ้นส่วนอากาศยานและจะเริ่มสร้างต้นแบบ Capsule ห้องโดยสารในช่วงปลายปีนี้ ส่วนเป้าหมายสูงสุดของบริษัท HTT คือ พัฒนา Capsule ห้องโดยสาร Hyperloop มีขนาดความยาวประมาณ 30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.7 เมตร น้ำหนักประมาณ 20 ตัน สามาถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 28-40 คน ทำความเร็วได้ประมาณ 1,223 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ที่มาของข้อมูล
www.designboom.com, hyperloop.global