Social Emptiness เมื่อคนเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอะไรที่ยิ่งใหญ่
ประเด็นนี้อาจเรียกว่าเป็น existential crisis ก็ได้ บางคนอาจงงว่ามันคืออะไร existential crisis คือวิกฤติที่ผู้เผชิญต้องทนรับกับความรู้สึกไร้ค่า และว่างเปล่าในจิตใจ ซึ่งปัญหานี้รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน เป็นเงาตามตัวกับพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ในขณะที่ social network กำลังเติบโตขึ้น การติดต่อสื่อสารข้ามโลกนั้นทำได้ง่ายขึ้น แต่คนเรากลับว้าเหว่ขึ้น เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ประเภทบุคคลต่อบุคคลนั้นลดลง เราแชทกันผ่านอุปกรณ์มากขึ้น เจอหน้ากันน้อยลง เรารู้สึกอุ่นใจกันน้อยลง
มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการยอมรับ ต้องการการอยู่เป็นฝูง นั่นทำให้คนบางคนต้องแก้ปัญหา existential crisis กันด้วยวิธีแปลกๆ ตัวอย่างที่จะยกมานี้คือตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง her (2014 – รักดัง ฟังชัด) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแนว sci-fi romantic drama ที่นำเสนอสังคมมนุษย์ในยุคที่เราโดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชนกันจนเป็นเรื่อง ธรรมดา สังคมในเรื่องนั้นพึ่งพาปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent) ให้เป็นเพื่อคู่คิด จนนำไปสู่ความรักแปลกๆระหว่างคนและคอมพิวเตอร์ มันแสดงให้เห็นว่าสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากไปนั้นดูโดดเดี่ยวขนาดไหน และมันส่งผลต่อตัวเราและคนรอบข้างอย่างไรบ้าง
ประเด็นจริงๆนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวละครนำ theodore หรือ a.i. samantha แต่อยู่ที่หญิงสาวที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของรักอันยิ่งใหญ่ โดยยอมเอาตัวเข้าแลก ให้ samantha ใช้เธอเป็นสื่อทดแทนตัวตน เพื่อมีเพศสัมพันธ์กับ theodore
ประเด็นนี้อาจดูไม่ได้น่าคิดอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันคือการพยายามเติมเต็มความว้าเหว่ในจิตใจ หญิงสาวคนนี้น่าจะมีปัญหาในการเข้าสังคมอย่างรุนแรง เธอต้องการการยอมรับจากใครสักคน ในหนังไม่ได้สื่อต่อว่าเธอจะใช้ชีวิตที่หลงทางของเธอต่อไปอย่างไร แต่หากเป็นยุคปัจจุบัน เธออาจหลงผิดเข้าไปพัวพันกับยาเสพย์ติด หรือเข้ากลุ่มมิจฉาชีพ หรืออะไรที่ไม่เป็นผลดีกับตัวเธอ
ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ได้ง่ายๆด้วยการให้ความเอาใจใส่กับ คนรอบตัวเรา ก้มหน้ามองมือถือน้อยลง หันมามองคนรอบข้างมากขึ้น ความอบอุ่นทางใจ รอยยิ้มจากเพื่อนฝูงและครอบครัวจะช่วยปิดรอยแผลในใจ และทำให้คนเราเข้มแข็งพอที่จะเผชิญชีวิต ในสังคมที่มีแนวโน้มจะใกล้กันทางอุปกรณ์ แต่ห่างกันทางใจมากขึ้น
สังเกตุสักนิด เพื่อที่การตัดสินใจผิดๆแบบนี้ จะมีเพียงในหนังเท่านั้น