“Gravity มฤตยูแรงโน้มถ่วง” ภาพยนตร์แนวอวกาศแอ็คชั่นไซไฟ

Gravity ภาพยนตร์แนวอวกาศแอ๊คชั่นไซไฟว่าด้วยเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกระสวยอวกาศทำให้นักบิน 2 คน คือ แพทย์หญิงดร.ไรอัน สโตน และนักบินอวกาศแม็ต โควอลสกี้ หลุดออกไปนอกตัวยานและต้องลอยขว้างอยู่ในอวกาศ ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดยจอร์จ คลูนีย์และ แซนดร้า บูลล็อค โดยผู้ที่รับหน้าที่กำกับการแสดงคือ อัลฟอนโซ กวารอน โอรอซโก (Alfonso Cuarón Orozco) เจ้าของผลงานเรื่อง Harry Potter and the Prisoner of Azkaban

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคะแนนโหวตจากเว็บไซต์ IMDb ถึง 8.0 ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าสนใจเลยทีเดียวนอกจากนี้ยังมีข่าวว่า แซนดร้า บูลล็อคได้รับกาเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากการรับบทแพทย์หญิงในภาพยนตร์เรื่องนี้อีกด้วย

ตัวอย่างภาพยนตร์ Gravity มฤตยูแรงโน้มถ่วง

ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง Gravity มฤตยูแรงโน้มถ่วง บนเว็บไซต์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำเว็บไซต์ออกมาได้อย่างสวยงาม น่าสนใจมากเลยทีเดียวจนผมอดใจไม่ไหวที่จะนำมาใส่ในบทความนี้ด้วยลองคลิกเข้าไปชมได้ที่ Gravitymovie.warnerbros.com น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยสำหรับผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้และอยากเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

website-gravity

ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง Gravity มฤตยูแรงโน้มถ่วง บนโซเชียลเน็ตเวิร์กและแอพพลิเคชั่น

Facebook คลิก Facebook.com/gravitymovie
Twitter คลิก @wbpictures
Tumblr คลิก Gravitymovie.tumblr.com/
Application for Android คลิก Play.google.com/store/apps/details?id=com.warnerbros.gravity&hl=en
Application for iOs คลิก Itunes.apple.com/us/app/gravity-dont-let-go/id709579885?ls=1&mt=8

ข้อมูลหน้าสนใจเพื่อโหมโรงก่อนเข้าโรงภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้เท่าที่ดูจากเรื่องย่อและคลิปตัวอย่างแล้วหนังมีความน่าสนใจมากเพราะคาดว่าจะได้เห็นเทคโนโลยีอวกาศต่าง ๆ เข้ามามีส่วนในการดำเนินเรื่องเพื่อสร้างความตื่นเต้นที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีอวกาศที่มีอยู่จริง ผมอยากจะแนะนำเทคโนโลยีอวกาศเหล่านั้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนดูหนังเรื่องนี้

รู้จักกับสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

iss
ที่มาของรูปภาพ TH.wikipedia.org

สถานีอวกาศนานาชาติ ( International Space Station; ISS) เกิดจากการรวมกลุ่มกันของชาติสมาชิก 16 ชาติเพื่อสร้างสถานีทดลองและค้นขว้าวิจัยทางอวกาศเริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อปี 1998 และสร้างเสร็จในปี 2012 และตามเเผนการจะมีการใช้งานไปจนถึงปี 2020 – 2028 สถานีอวกาศนานาชาติเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่มนูษย์สร้างบนอวกาศ มีความสำคัญในการทดลองด้าน ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา

สถานีอวกาศใช้วิธีการก่อสร้างโดยการเชื่อมต่อชิ้นส่วนโมดูลที่ประเทศต่าง ๆ สร้าง 9 โมดูลเข้าด้วยกัน มีโมดูลสำคัญ ๆ เช่น ซาร์ยา จากประเทศรัสเซีย , เดสทินี จากประเทศสหรัฐอเมริกา , ฮาร์โมนี จากสหภาพยุโรป , คีโบ จากประเทศญี่ปุ่น , ทรานคูลิตี้ จากสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแผงสุรียะเพื่อสร้างไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ที่มีความกว้างถึง 375 ตารางเมตร ยาว 58 เมตร ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 130 ถึง 180 โวลต์

ข้อมูลกระสวยอากาศของสหรัฐ (Space Shuttle)

Atlantis_undock_ISS
ที่มาของรูปภาพ TH.wikipedia.org

โครงการกระสวยอวกาศสหรัฐเป็นโครงการสร้างยานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ปัจจุบันโครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยนาซ่าได้เลือกที่จะสร้างยานขนส่งอวกาศที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่า โครงการกระสวยอวกาศนั้นได้มีส่วนสำคัญในภาระกิจสำคัญ ๆ ของนาซ่าหลายภาระกิจเช่น การติดตั้งกล้องฮับเบิล รวมถึงการก่อสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ ใช้กระสวยอวกาศทั้งหมด 6 ลำ

1. กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์
2. กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (ระเบิดขณะบินกลับพื้นโลกเมื่อปี 2003 นักบินเสียชีวิตทั้งหมด)
3. กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (ระเบิดขณะบินขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี 1986 นักบินเสียชีวิตทั้งหมด)
4. กระสวยอวกาศดิสคัฟเวรี
5. กระสวยอวกาศแอตแลนติส
6. กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์

ถึงแม้ว่าจะประสบอุบัติเหตุ 2 ครั้ง และเสียนักบินไปหลายคน แต่โครงการกระสวยอวกาศก็ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยการส่งยานเข้าสู่วงโคจรของโลกไปแล้วมากกว่า 100 ครั้ง

การเดินอวกาศ ( Spacewalk)

Spacewalk
ที่มาของรูปภาพ TH.wikipedia.org

การเดินอวกาศ หรือการทำ Spacewalk คือการส่งนักบินออกไปทำภาระกิจนอกตัวยาน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงทั้งด้านของการรับรังศีมากกว่าการอยู่ภายในตัวยาน อุณหภูมินอกตัวยานนั้นไม่เสถียร เช่น อุณหภูมิด้านที่โดนแสงอาทิตย์ 250 องศาแต่อุณหภูมิด้านที่มีเงาของยานอุณหภูมิอาจเป็น -50 องศา นักบินอวกาศจึงต้องสวมใส่ชุดพิเศษที่สามารถป้องกันรังศีและสามารถปรับอุณหภูมิความดันได้อัตโนมัติ ปัจจุบันมี 3 ประเทศในโลกที่สามารถทำ Spacewalk ได้คือ รัสเซีย อเมริกา และจีน ในกรณีของการเดินอวกาศที่เกิดขึ้นบนสถานีอวกาศนานาชาตินั้นจะมีอุปกรณ์ชื่อว่า Canada Hand ช่วยในการยึดนักบินอวกาศกับตัวยานและใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีขนาดใหญ่ภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติ

ยานอวกาศโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซีย

Soyuz_TMA-7_spacecraft2edit1
ที่มาของรูปภาพ TH.wikipedia.org

ยานอวกาศโซยุซ (Soyuz) ถือได้ว่าเป็นยานอวกาศที่สร้างความภูมิใจให้กับรัสเซียเนื่องจากถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 1967 และมีเที่ยวบินมากถึง 117 เที่ยวบิน ยานโซยุซนั้นแตกต่างจากกระสวยอวกาศตรงที่สามารถใช้ในภาระกิจได้แค่ครั้งเดียวเพราะพื้นผิวของตัวยานจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกเผาไหม้ขณะกลับสู่พื้นโลก ยานโซยุซสามารถขนส่งนักบินได้ครั้งล่ะ 3 คน ถูกใช้ในภาระกิจขนส่งนักบินขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติและสามารถใช้เป็นยานหนีฉุกเฉินในกรณีที่สถานีอวกาศได้รับความเสียหาย ถึงแม้ว่ายานโซยุซจะสามารถใช้งานได้แค่ครั้งเดียวแล้วสร้างใหม่ แต่ตัวยานมีขนาดเล็กและมีต้นทุนในการก่อสร้างที่น้อยกว่ากระสวยอวกาศ

ข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะไปดูภาพยนตร์เรื่อง Gravity ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน สำหรับคนที่ชอบเรื่องของอวกาศไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้เพราะคุณจะได้เห็นกระสวยอวกาศ สถานีอวกาศ ยานโซยุซ แขนแคนาดา และแรงโน้มถ่วงเท่ากับ 0 ในมุมมองที่สยองไม่ได้สนุกลอยไปลอยมาอย่างที่พวกเราเคยเห็นในสารคดีอย่างแน่นอน

ที่มาของข้อมูล
youtube.com/user/WarnerBrosPictures, imdb.com,TH.wikipedia.org

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *