สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวแบบอาคาร Terminal 2 ห้องรับแขกแห่งใหม่ของประเทศไทย

สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2) ซึ่งสนามบินแห่งชาตินี้ถือได้ว่าเป็นห้องรับแขกของประเทศไทยแบบอาคารผู้โดยสารที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผลงานการออกแบบของ ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก หรือ DBALP-NIKKEN SEKKEI ประเทศญี่ปุ่น แรงบัลดาลใจในการออกแบบอาคาร Terminal 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิมาจากต้นไม้ในเขตร้อน

การประกวดแบบก่อสร้างนั้นคะแนนของกลุ่มดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกเข้ามาอยู่ในลำดับที่ 2 แต่ทีมที่มีคะแนนรวมอยู่ในลำดับที่ 1 คือ ทีม SA Group ส่งเอกสารไม่ครบทำให้แพ้ฟาร์วส่งผลให้กรรมการเลือกทีมดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกที่อยู่ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทนที่ทีม SA Group สำหรับผลงานการออกแบบของทีมดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกออกแบบโดยคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค นักออกแบบชื่อดังชาวไทยที่มีผลงานการออกแบบมีความเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวพบได้ในผลงานการออกแบบที่ผ่าน ๆ มาของเขา

ความสำคัญของสนามบินต่อประเทศ

สนามบินถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าของประเทศควรแสดงออกถึงความมีเอกลักษณะของชนชาติผสมผสานเทคโนโลยีและการออกแบบที่ล้ำสมัยเสมือนหนึ่งห้องรับแขกต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางที่อ่อนล้าและเป็นที่จดจำเมื่อพวกเขาเดินทางถึงจุดหมายในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนจำนวนมหาศาลถือเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญลำดับต้น ๆ มากพอ ๆ กับการลงทุนด้านการศึกษาและสวัสดิการสังคมและมันจะกลายเป็นผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่จะอยู่บนแผ่นดินไทยไปอีกหลายทศวรรษ

ดีไซน์แตกต่างกันได้แต่ควรอยู่ในแนวคิดใกล้เคียงกัน

สนามบินอินชอน (Incheon International Airport ) มีอาคารผู้โดยสารหลัก 2 อาคารแม้ว่าตัวอาคารจะถูกสร้างและเปิดใช้งานห่างกันหลายปีแต่ตัวอาคารผู้โดยสารทั้งหมดของสนามบินยังคงรูปแบบและดูเป็นกลุ่มอาคารผู้โดยสารสนามินเดียวกัน อาคารผู้โดยสารที่ 2 (Terminal 2) เพิ่งเปิดให้บริการในปี 2018 ใช้การออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Bonghwang นกไฟในตำนานของเกาหลีแม้จะถูกสร้างทีหลังแต่ลักษณะของอาคารผู้โดยสารดูมี Design Concept หรือ Theme เดียวกันแม้ในรายละเอียดหรือแรงบัลดาลใจแตกต่างกันก็ตามซึ่งควรเป็นลักษณะของสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่ที่ผู้โดยสารจดจำ

ภาพเปรียบเทียบอาคารผู้โดยสารสนามบิน Incheon ระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2
ภาพเปรียบเทียบอาคารผู้โดยสารสนามบิน Incheon ระหว่างอาคาร 1 และอาคาร 2

ในแต่ละประเทศเลือกใช้วิธีการสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินแตกต่างกันหลายประเทศเลือกใช้วิธีทะยอยสร้างไปทีละอาคารอาจเพราะเงื่อนไขด้านงบประมาณหรือจำนวนผู้โดยสาร การควบคุม Design Concept หรือ Theme จึงมีความสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้อาคารผู้โดยสารมีรูปแบบที่หลากแปลกประหลาดไปจากกลุ่มอาคารเดิมในขณะเดียวกันตัวอาคารผู้โดยสารที่สร้างใหม่ยังคงความทันสมัยไม่ย้อนยุคไปในอดีตหรือนำเสนอวัฒนธรรมแบบอนุรักดิ์นิยมมากจนเกินไปไม่มีความจำเป็นต้องนำเสนอวัฒนธรรมไทยแบบตรง ๆ แต่อาจใช้การผสมผสานกับเทคโนโลยีความล้ำหน้าเพื่อก้าวไปสู่อนาคตเพราะมันเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างจากเงินภาษีและคงอยู่ไปอีกกว่า 100 ปีหรือมากกว่านั้น

 

“ภารกิจของนักออกแบบ คือ ปกป้องและสร้างผลงานสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมให้กับประเทศ”

ลักษณะป่าไม้เขตร้อนในประเทศไทย

แรงบัลดาลใจในการออกแบบอาคาร Terminal 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิมาจากต้นไม้ในเขตร้อน ป่าไม้ในประเทศไทยมีความหลากหลายแต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน คือ ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergeen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ภาคใต้ของประเทศไทยมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ต้นไม้มีความสลับซับซ้อนหนาทึบเนื่องจากได้รับความชุ่มชื้นจากอิทธิพลจากน้ำฝนเยอะกว่าภาคอื่น ๆ บริเวณเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ภาคใต้ยังอุดมไปด้วยป่าโกงกางที่เป็นลักษณะเฉพาะตลอดแนวยาวทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าภาคตะวันตกมีลักษณะเป็นป่าดงดิบแล้งเนื่องจากได้รับปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี ภาคเหนือมีลักษณะเป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาสูง ป่าเบญจพรรณ พื้นที่ป่าไม่รกทึบ ภาคอีสานมีลักษณะเป็นที่ราบสีพบป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง ภาคตะวันออกมีลักษณะของป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ผสมป่าชายเลน ได้รับอิทธิพลจากน้ำฝนจากอ่าวไทย

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าพบลักษณะของป่าสน ไม้ยืนเต้นเดี่ยวลำต้นเกลี้ยง ๆ น้อยมากในประเทศไทยอาจพบในบริเวณที่ราบสูงบางแห่งเท่านั้น ในขณะเดียวกันป่าสน ไม้ยืนเต้นเดี่ยวลำต้นเกลี้ยง ๆ พบมากในประเทศเอเชียตะวันออกเช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

สถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาปัตยกรรมของประเทศในเอเชียมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันแต่อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศก็มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ ธรรมชาติ ชีวิตและความเป็นอยู่ เช่น ประเทศที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเย็นอบอุ่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่นกับประเทศในเขตร้อนชื้นแบบประเทศไทย ต้นไม้ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันส่งผลให้วัสดุก่อสร้างงานและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกัน

ในงาน World Expo 2010 ประเทศจีนได้นำเสนองานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติจีนด้วยการสร้าง China Pavillion เป็นรูปแบบอาคารที่เสมือนถูกสร้างโดยใช้เทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมจีน การเชื่อมต่อไม้ที่มีลักษณะเป็นชายคายาวสลับกันดูแข็งแกร่งและทรงคุณค่าในความเป็นชนชาติจีน ปัจจุบันอาคารลักษณะนี้พบเห็นได้ในประเทศไทย เช่น ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนใจกลางกรุงเทพมหานคร ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง

China Pavillion World Expo 2010 ที่มาของภาพ wikipedia.org
China Pavillion World Expo 2010 ที่มาของภาพ wikipedia.org
China Cultural Center in Bangkok ที่มาของภาพ cccbangkok.org
China Cultural Center in Bangkok ที่มาของภาพ cccbangkok.org

การก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) แสดงถึงความงดงามด้านสถาปัตยกรรมของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกสามารถพบลักษณะที่ใกล้เคียงกันในสถาปัตยกรรมอาคารในประเทศญี่ปุ่น งานออกแบบพิพิธภัณฑ์ Yusuhara Wooden Bridge Museum ออกแบบโดย Kengo Kuma and Associates มีความโดดเด่นแสดงถึงเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก อาจกล่าวได้ว่าเทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) เป็นวัฒนธรรมร่วมที่มีความคล้ายคลึงกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออก

ผลงานการออกแบบ Terminal 2 ของคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค

Suvarnabhumi Airport Terminal II
Suvarnabhumi Airport Terminal II
Suvarnabhumi Airport Terminal II
Suvarnabhumi Airport Terminal II

ต้นทุนในการก่อสร้างสนามบินแห่งชาติคือ เวลา

ผลงานการออกแบบ Terminal 2 ของคุณดวงฤทธิ์ บุนนาคมีความเป็นเอกลักษณ์แต่อาจยังไม่สามารถตอบโจทย์ถึงความเป็นไทยและมีลักษณะของสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก ญี่ปุ่น จีนแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของกรรมการซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและระบบการทำงานภายในสนามบิน อย่างไรก็ตามต้นทุนในการก่อสร้างสนามบินมาจากภาษีประชาชนและมีต้นทุนอีกอย่างที่เพิ่มขึ้นทุกวินาทีนั่นคือ เวลา ซึ่งส่งผลต่อค่าเงินและงบประมาณในการก่อสร้างสนามบิน

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
airport.kr, archdaily.com, airport-technology.com, farrells.com, samoo.com, dnp.go.th, China pavilion at Expo 2010, cccbangkok.org, kkaa.co.jp

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation