ยานแคสสินี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygen) ภารกิจสำรวจดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวาร

“แคสสินี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygen) ภารกิจสำรวจอวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ”

ยานแคสสินี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygen) เป็นความร่วมมือสำรวจอวกาศของนาซ่า (NASA) องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การสำรวจอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อภารกิจสำรวจดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวาร ยานแคสสินี-เฮยเคินส์ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1997 โดยจรวด Titan IV(401)B จากฐานปล่อยหมายเลข SLC-40 แหลมคะแนเวอรัล ศูนย์อวกาศเคนเนดี ชื่อของยานแคสสินีถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติกับโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี (Giovanni Domenico Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีผู้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร์ ส่วนยานเฮยเคินส์ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติกับคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ผู้ค้นพบดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์

ข้อมูลพื้นฐานของยานแคสสินี-เฮยเคินส์

ยานแคสสินี-เฮยเคินส์มีลักษณะเป็นยานอวกาศ 2 ลำถูกประกอบติดกันโคจรในอวกาศโดยไร้มนุษย์ (Robotic Spacecraft) ยานแคสสินีถูกวิจัยพัฒนาโดย Jet Propulsion Laboratory สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียส่วนยานเฮยเคินส์ถูกวิจัยพัฒนาโดยบริษัท Thales Alenia Space บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดของยุโรป ยานแคสสินีมีความยาวประมาณ 6.8 เมตรสูง 4 เมตรหรือขนาดประมาณรถโรงเรียน 1 คัน ส่วนยานเฮยเคินส์เป็นยานขนาดเล็กกว้างประมาณ 2 เมตร ยานทั้งสองลำมีน้ำหนักรวมกันประมาณ 5,712 กิโลกรัม

ยานอวกาศแคสสินีใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลูโตเนียม-238 และส่วนยานเฮยเคินส์ได้รับพลังงานไฟฟ้าจากยานเฮยเคินส์ ทำให้ยานอวกาศยานแคสสินี-เฮยเคินส์ไม่มีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่พบเห็นในยานอวกาศทั่วไป ระบบเครื่องยนต์จรวดของยานแคสสินีใช้เครื่องยนต์จรวด R-4D จำนวน 2 ชุดโดยจะถูกใช้ระบบเครื่องยนต์หลักเพื่อควบคุมความเร็วของยานและการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวงโคจร นอกจากนี้ยังมีระบบเครื่องยนต์รองที่ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางองศาของยานอีก 16 ชุด โดยเครื่องยนต์จรวดทั้งหมดจะใช้พลังงานจากสาร Hydrazine

ภารกิจของยานแคสสินี-เฮยเคินส์

ยานแคสสินีถูกออกแบบมาเพื่อสำรวจดาวเสาร์ วงแหวนของดาวเสาร์ ขั้วด้านเหนือและใต้ของดาวเสาร์ ดวงจันทร์บริวารไททัน เอนเซลาดัส และดวงจันทร์บริวารดวงอื่น ๆ ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินีคือ การโคจรเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์เพื่อทำลายตัวเอง (Cassini: The Grand Finale) ส่วนยานเฮยเคินส์ถูกออกแบบเพื่อลงจอดและสำรวจดวงจันทร์ไททัน เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2005 ยานเฮยเคินส์ได้ลงจอดบนผิวดวงจันทร์ไททันพร้อมถ่ายภาพพื้นผิวดวงจันทร์ไททันได้สำเร็จแต่เกิดข้อผิดพลาดบางอย่างทำให้ข้อมูลภาพที่ยานเฮยเคินส์ส่งให้ยานเเคสสินีสำเร็จ 350 ภาพส่วนภาพบางส่วนที่เหลือสูญหายไปหลังยานเฮยเคินส์หมดพลังงานการลงจอดของยานเฮยเคินส์ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ยานอวกาศถูกส่งไปลงจอดบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากแถบดาวเคราะห์น้อยออกไป

การค้นพบที่สำคัญของยานแคสสินี-เฮยเคินส์

ตลอดภารกิจ 20 ปีของยานแคสสินี-เฮยเคินส์ยานประสบความสำเร็จในโคจรเป็นระยะทางกว่า 7.9 พันล้านกิโลเมตร รวบรวมข้อมูลสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ปริมาณ 635 GB ยานถ่ายภาพและส่งกลับมายังโลก 453,048 ภาพ การค้นพบที่สำคัญของยานแคสสินี-เฮยเคินส์เช่น
– การค้นพบดวงจันทร์บริวารดวงใหม่ของดาวเสาร์ทั้งหมด 6 ดวง
– การถ่ายภาพภูมิประเทศของดวงจันทร์ไททัน
– การค้นพบทะสาบมีเทนบนผิวดวงจันทร์ไททัน
– การค้นพบรูปแบบของคลื่นในวงแหวนดาวเสาร์
– การถ่ายภาพขั้วด้านเหนือและใต้ของดาวเสาร์ในระยะใกล้
– การสังเกตการณ์ออโรร่าบริเวณขั้วด้านเหนือและใต้ของดาวเสาร์
– การติดตามศึกษาพายุบนดาวเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ 15,000 กิโลเมตร
– ค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของดาวเสาร์ 6 ดวง ได้แก่ Methone, Pallene, Polydeuces, Daphnis, Anthe และดวงจันทร์ขนาดเล็ก S/2009 S 1
– การค้นพบชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ Dione
– การถ่ายภาพความคมชัดสูงของพื้นผิวดวงจันทร์เอนเซลาดัสและค้นพบละอองไอน้ำพุ่งขึ้นจากบริเวณขั้วด้านใต้ของดวงจันทร์เอนเซลาดัส
– การค้นพบของเหลวจำนวนมากภายใต้พื้นผิวดวงจันทร์เอนเซลาดัส

ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี (Cassini: The Grand Finale)

ภารกิจสุดท้ายของยานแคสสินี (Cassini: The Grand Finale) โคจรพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์เพื่อทำลายตัวเองในวันที่ 15 กันยายนปี 2017 โดยสาเหตุที่นาซ่าเลือกใช้วิธีทำลายยานแคสสินีด้วยวิธีนี่เนื่องจากกังวลว่าหากยานโคจรพุ่งเข้าสุ้ชั้นบรรยากาศดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสารชีวิภาพและเชื้อจุลินทรีย์จากโลกที่อาจหลุดหลอดติดไปกับยานโดยไม่ตั้งใจอีกทั้งนักวิทยาศาสตรืคาดการว่าดวงจันทร์เเอนเซลาดัสนี้อาจมีน้ำซึ่งเป็นปัจจุจัยต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

คลิปจำลองการเดินทางของยานแคสสินี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygen)

ที่มาของข้อมูล
saturn.jpl.nasa.gov, space.com, spaceth.co/cassini

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation