New Horizons ยานอวกาศสำรวจดาวพลูโต ดาวบริวาร และแถบไคเปอร์

New Horizons (นิวฮอไรซันส์) เป็นยานสำรวจอวกาศที่ถูกส่งไปโคจรผ่านดาวพลูโต ดาวบริวาร และแถบไคเปอร์หรือบริเวณขอบนอกของระบบสุริยะจักรวาล ชื่อของยานแปลได้ตรงตัวว่า “ขอบฟ้าใหม่” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย New Frontiers 1 – 5

ภาพการปล่อยยานนิวฮอไรซันส์ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวต Atlas V

ยานนิวฮอไรซันส์มีลักษณะคล้ายกับดาวเทียมสำรวจอวกาศมีน้ำหนักประมาณ 478 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Atlas V 551 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006 ใช้เวลาเดินทางยาวนานกว่า 10 ปี ระยะทางกว่า 4,880 ล้านกิโลเมตร เข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุดคือ 07.49 น. ของวันที่ 14 ก.ค. 58 (ตามเวลาท้องถิ่น) หรือ 18.49 น. (ตามเวลาไทย) หลังจากยานนิวฮอไรซันส์ถ่ายภาพดาวพลูโตแล้วต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงข้อมูลทั้งหมดถึงจะส่งกลับมายังโลกได้เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกกับดาวพลูโตที่ไกลมากนั่นเอง

ตำแหน่งของดาวพลูโตในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

solar-system

ภาพจำลองเส้นทางที่ยาน New Horizons โคจรเข้าใกล้ดาวพลูโตและดาวบริวาร

nh_trajectory

ภาพดาวพลูโตที่ยานนิวฮอไรซันส์ส่งกลับมายังโลก

pluto

ทีมงานบนโลกแสดงความยินดีที่ภาระกิจสำเร็จ

New Horizons Flight Controllers celebrate after they received confirmation from the spacecraft that it had successfully completed the flyby of Pluto, Tuesday, July 14, 2015 in the Mission Operations Center (MOC) of the Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory (APL), Laurel, Maryland. Photo Credit: (NASA/Bill Ingalls)

ภาพเคลื่อนไหว Animation จำลองการโครจรผ่านดาวพลูโต

ดาวพลูโตเป็นดาวที่อยู่ไกลสุดของระบบสุริยะจักราลของเรา มีลักษณะที่เรียกว่าดาวเคราะห์แคระเนื่องจากขนาดของมันเล็กมาก มีมวลประมาณ 1 ใน 6 ของดวงจันทร์ ดาวพลูโตมีขนาดเล็กแต่มีดวงจันทร์บริวารถึง 5 ดวงประกอบด้วย ชาลอน (Charon) , นิคและไฮดรา (Nix and Hydra) , พีไฟฟ์ (P5) , พีโฟร์ (P4) หลังจากโครจรผ่านดาวพลูโตยานนิวฮอไรซันส์ จะโครจรผ่านดาวบริวารของดาวพลูโตจากนั้นจะเดินทางไปสู่ส่วนที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นบริเวณขอบนอกของระบบสุริยะจักรวาลเริ่มนับจากวัตถุที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูนไป ในพื้นที่ของแถบไคเปอร์ นอกจากดาวพลูโตแล้วยังมีดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวงเช่น อีริส (Eris) มาคีมาคี (Makemake) เซดนา (Sedna)

ที่มาของข้อมูล
nasa.gov , csirouniverseblog.com, www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *