ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมขนาดเล็กพัฒนาโดยคนไทย

ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมขนาดเล็กมีขนาดประมาณ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม ผลงานการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีกำหนดการปล่อยขึ้นสู่วงโคจรของโลกช่วงปลายปี 2018 โดยใช้จรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX

วัตถุประสงค์ของโครงการดาวเทียม KNACKSAT

  • การพัฒนาระบบสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่วิทยุ
  • การพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพจากอวกาศ
  • การควบคุมการทรงตัวของดาวเทียมแบบ 3 แกนโดยใช้ขดลวด Magnetic Torquer ปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กทำให้ดาวเทียมหมุนเมื่อเจอกับสนามแม่เหล็กโลก
  • การทดสอบเทคโนโลยี Deorbit การลดระดับความสูงของวงโคจรจนทำให้ดาวเทียมตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
  • การทดสอบวัสดุ Commercial off-the-shelf ในอวกาศ

สถานีภาคพื้นดิน (Ground Station) ตั้งอยู่บนอาคาร TGGS ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของสถานีคือ (13 ° 49’8.65 “N, 100 ° 30’49.30” E)

ดาวเทียม KNACKSAT ประกอบด้วยระบบย่อย 6 ระบบ

  • ระบบย่อยโครงสร้าง (STR)
  • ระบบย่อยการสื่อสาร (COM)
  • ระบบไฟฟ้ากำลังไฟฟ้า (EPS)
  • ระบบย่อยคำสั่งและการจัดการข้อมูล (CDH)
  • ระบบย่อยการหาและควบคุมการทรงตัว(ADCS)
  • ระบบย่อยกล้อลถายภาพ (หรือเพย์โหลด) (CAM)

ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมประเภท Nano satellite

ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมประเภท Nano satellite การแบ่งประเภทของดาวเทียมใช้วิธีวัดตามขนาด เช่น ดาวเทียม Nano satellite น้ำหนัก 1-10 กิโลกรัม ดาวเทียม Micro satellite น้ำหนัก 10-100 กิโลกรัม ดาวเทียม Mini satellite น้ำหนัก 100-500 กิโลกรัม ส่วนดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่จะต้องมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตันขึ้นไป

ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครของไทยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (The University of Surrey) ประเทศอังกฤษพัฒนาดาวเทียมไทพัฒ 1 และไืทพัฒ 2 ดาวเทียมมีขนาดประมาณ 35×60 เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกในปี 1998

จรวดที่มีประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการส่งดาวเทียมราคาถูกลง

ปัจจุบันการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกเนื่องจากใช้ต้นทุนการวิจัยพัฒนาที่ต่ำและค่าใช้จ่ายในการขนส่งขึ้นสู่อวกาศมีราคาถูกลง เช่น การใช้บริการจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX หรือการใช้บริการจรวด Electron ของบริษัทใหม่ล่าสุดอย่าง Rocket Lab ที่มีค่าใช้จ่ายต่อการปล่อยจรวดหนึ่งครั้งประมาณ 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ก้าวสำคัญของวงการอวกาศไทย

ความสำเร็จในการพัฒนาดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการเทคโนโลยีอวกาศไทย ดาวเทียมดวงนี้ใช้การวิจัยพัฒนาโดยวิศวกรและนักศึกษาจากประเทศไทย 100% หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนการสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาดาวเทียมที่สามารถให้ข้อมูลสำคัญกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐบาลภายใต้เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยคนไทยซึ่งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง

ภาพทีมงานพัฒนาดาวเทียม KNACKSAT

ที่มาของข้อมูล
facebook.com/knacksat/, knacksat.space/home

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation