หุ่นยนต์ส่งอาหารเทคโนโลยีช่วยลดความหิวของมนุษย์

ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจขนส่งอาหารเป็นไปอย่างร้อนแรงเพื่อตอบสนองความหิวและความสะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้า ในต่างประเทศเริ่มมีการนำหุ่นยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเข้ามาทำงานแทนมนุษย์โดยหุ่นยนต์นั้นมีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น การทำงานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงทำงานล่วงเวลา ต้นทุนของหุ่นยนต์ คือ หุ่นยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าและการบำรุงรักษา นอกจากนี้หุ่นยนต์ยังทำงานกันเป็นเครือข่ายติดต่อสื่อสารขนาดใหญ่ผู้ใช้งานสามารถเลือกรับบริการได้ผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Starship

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Starship มีลักษณะภายนอกคล้ายถังใส่อาหารขับเคลื่อนด้วยล้อ 6 ล้อใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ อาหารที่ลูกค้าสั่งจะถูกเก็บไว้บริเวณด้านบนของหุ่นยนต์ ด้านหน้าติดตั้งกล้องลักษณะคล้ายตาของแมงมุม ลูกค้าสามารถส่งอาหารผ่านทางสมาร์ทโฟนและข้อมูลจะถูกส่งไปยังร้านอาหารและตัวหุ่นยนต์ส่งอาหาร Starship หลังจากอาหารถูกบรรจุลงไปในตัวหุ่นยนต์เรียบร้อยแล้ว หุ่นยนต์จะทำงานโดยอัตโนมัติไม่มีมนุษย์ควบคุม 

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Starship ถูกออกแบบให้ใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อตรวจจับวัสถุที่อยู่บนเส้นทางเพื่อกำหนดเส้นทางใหม่แบบอัตโนมัติเพื่อป้องกันการชน หุ่นยนต์ส่งอาหาร ​​Starship พัฒนาโดยบริษัท Starship Technologies ประเทศเอสโตเนีย บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2014 และทำการเปิดตัวต้นแบบหุ่นยนต์ Starship ในปีเดียวกัน ปัจจุบันบริหารเปิดให้บริการและมีสำนักงานอยู่ในหลายเมือง เช่น ลอนดอน , ซานฟรานซิสโก , ฮัมบวร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2017 บริษัทเปิดเผยว่าหุ่นยนต์ส่งอาหาร Startship ทุกตัวที่บริษัทเปิดให้บริการกับลูกค้าสามารถส่งอาหารรวมกันเป็นระยะทางกว่า 100,000 กิโลเมตร

คลิปแนะนำหุ่นยนต์ส่งอาหาร Starship 

หุ่นยนต์ขนส่ง Nuro

หุ่นยนต์ขนส่ง Nuro มีขนาดค่อนข้างใหญ่เท่ากับรถกอร์ฟมีช่องสำหรับใส่สิ่งของมากถึง 4 ช่อง ขับเคลื่อนอัติโนมัติไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์ควบคุม สามารถทำงานติดต่อกันได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยบริษัทเน้นความปลอดภัยในระหว่างขนส่งด้วยระบบตรวจจับวัตถุที่อยู่ในเส้นทาง หุ่นยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขับเคลื่อนด้วยล้อ 4 ล้อ

หุ่นยนต์ขนส่ง Nuro ถูกออกแบบโดยบริษัท Nuro ก่อตั้งในปี 2016 โดย Dave Ferguson และ Jiajun Zhu วิศวกรที่เคยร่วมงานกับ Google พัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติให้กับรถยนต์ในโปรเจค Waymo หุ่นยนต์ Nuro ไม่ได้ถูกออกแบบให้ส่งอาหารเพียงอย่างเดียวแต่สามารถส่งพัสดุหรือสิ่งของอื่น ๆ ได้ด้วยเพื่อตอบสนองการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ให้บริการกับลูกค้า

คลิปแนะนำหุ่นยนต์ขนส่ง Nuro

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Marble

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Marble มีขนาดประมาณตู้ไอสกรีมสามารถเปิดใส่สิ่งของได้จากประตูทั้งสองด้าน ขับเคลื่อนด้วยล้อ 4 ล้อใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ลูกค้าสามารถส่งอาหารได้ทางแอพพลิเคชั่น Yelp Eat24 และรอรับอาหารได้ภายใน 30 นาที หุ่นยนต์ส่งอาหาร Marble ติดตั้งระบบนำทาง กล้องเซ็นเซอร์ตรวจจับเส้นทางเพื่อให้สามารถส่งอาหารถึงโต๊ะลูกค้าได้อย่างปลอดภัย

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Marble พัฒนาโดยบริหาร Marble มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งในปี 2015 ต่อมาในปี 2018 บริษัทแห่งนี้ได้รับเงินลงทุนจากบริษัท Tencent บริษัทยักษ์ใหญ่จากประเทศจีนมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทเปิดให้บริการในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. , เมือง Redwood และในเมืองซานฟรานซิสโก

คลิปแนะนำหุ่นยนต์ส่งอาหาร Marble

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Robby 2

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Robby 2 พัฒนาโดยบริษัท Robby ในปี 2016 โดย Dheera Venkatraman และ Rui Li มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ปัจจุบันหุ่นยนต์ทุกตัวของบริษัทสามารถส่งอาหารให้ลูกค้าในรัฐแคลิฟอร์เนียระยะทางรวมกันกว่า 5,000 กิโลเมตร

หุ่นยนต์ส่งอาหาร Robby 2 ออกแบบให้มีลักษณะเท่ากับสัตว์เลี้ยงของมนุษย์เพื่อให้ภาพลักษณ์ที่ออกมาเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ขับเคลื่อนด้วยล้อ 6 ล้อสามารถปรับระดับของล้อให้เคลื่อนผ่านเนินหรือขอบถนนที่มีความสูงได้อย่างนิ่มนวล สามารถส่งอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืนโดยมีระบบดวงไฟ LED เคยให้ความสว่างนอกจากนี้หุ่นยนต์ส่งอาหาร Robby 2 ยังกันน้ำได้เป็นอย่างดีแม้ว่าฝนจะตกหนักอาหารก็จะส่งถึงมือลูกค้าในสภาพพร้อมรับประทาน

คลิปแนะนำหุ่นยนต์ส่งอาหาร Robby 2

หุ่นยนต์ส่งพิซซ่า DRU จาก Domino’s Pizza

หุ่นยนต์ส่งพิซซ่า DRU ย่อมาจาก Domino’s Robotic Unit ถือเป็นหุ่นยนต์ส่งพิซซ่าตัวแรกของโลกวิจัยพัฒนาโดยทีมวิศวกรประเทศออสเตรเลียเริ่มต้นพัฒนาในปี 2015 โดยใช้การพัฒนาจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ใช้ในกองทัพ หุ่นยนต์มีการออกแบบที่สวยงามล้ำสมัยใช้เทคโนโลยีการขับเคลื่อนอัตโนมัติ ทดสอบให้บริการครั้งแรกในปี 2016 สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงมีดวงไฟให้ความสว่าง 2 ดวงด้านหน้าและติดตั้งกล้องตรวสอบวัสถุต่าง ๆ บนเส้นทาง ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าใช้ล้อ 4 ล้อ

คลิปแนะนำหุ่นยนต์ส่งพิซซ่า DRU 

แม้ว่าหุ่นยนต์ขนส่งอาหารจะถูกนำมาใช้ในหลายประเทศแต่เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและต้องใช้การวิจัยพัฒนาเพิ่มเติม ปัญหาที่พบสำหรับการให้บริการหุ่นยนต์ขนส่งอาหารในเมืองใหญ่ เช่น ปัญหาข้อกฏหมายการใช้ถนนและทางเท้า รวมไปถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับตัวหุ่นยนต์หรือผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีแต่ต้องใช้เวลาในการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจากเทคโนโลยีข้างต้นน่าจะทำให้เราเห็นภาพของเทคโนโลยีในอนาคตแล้วว่าหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรในชีวิตมนุษย์

ที่มาของข้อมูล

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation