งาน Blognone Tomorrow 2019 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ

เว็บไซต์ Blognone ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในการจัดงาน Blognone Tomorrow ครั้งที่ 2 อย่างยิ่งใหญ่ อัดแน่นด้วยเนื้อหาเทคโนโลยีคุณภาพเพื่อร่วมก้าวเข้าสู่โลกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หัวข้อของงานสัมมนาในปีนี้ คือ Human & Machine คนและเครื่องจักร นำเสนอเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ Artificial Intelligence, Internet of Things และ Cloud Computing

สำหรับรูปแบบงานสัมมนาในปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าในปีที่ผ่านมาโดยแบ่งห้องสัมมนาออกเป็น 4 ห้องด้วยกันเพื่อให้เจาะลึกถึงประเด็นเนื้อห้าได้อย่างละเอียด ผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกเข้าฟังในประเด็นที่สนใจได้อย่างเต็มที่

ห้องสัมมนาหลัก Main Stage by AIS

เจาะลึกในประเด็นของเทคโนโลยีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน นำโดยเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นยุคใหม่ของการติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT เพื่อใช้การทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพโดยบริษัท ​AIS เทคโนโลยีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ซึ่งเป็นทิศทางของยานยนต์ในอนาคตของประเทศไทยโดยบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบรนด์คนไทย การแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของบริษัทขนาดใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากประเทศจีน เช่น Tencent , Huawei และ Meituan Dianping

ห้องสัมมนา AI Stage by KBTG

เจาะลึกในประเด็นเทคโนโลยีสาย AI, Machine Learning, Big Data, Data Analytics รวมถึงกระบวนการ Agile Process และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง Development และ Operation โดยคุณทัศพล อธิอภิญญา Advanced Machine Learning Engineer ของ KBTG อดีตวิศวกรคนไทยใน Apple สำนักงานใหญ่ กระบวนการ MLOps ที่สามารถช่วยในการทำ Machine Learning

ความสำคัญของข้อมูลต่องค์กรในยุค Digital Transformation โดยคุณนที ศรีรัศมี Executive Director จากธนาคาร UOB Thai และคุณกล้า ตั้งสุวรรณ Chief Executive Officer of Wisesight ผู้ให้บริการด้านข้อมูลบนโซเชียลมีเดียรายใหญ่ของประเทศไทย

กระบวนการออกแบบ DesignOps รูปแบบหนึ่งของกระบวนการทำงานแบบ Agile ที่จะกลายเป็นเทรนด์ในการทำงานออกแบบของหลายบริษัท โดยคุณสรรพวิชญ์ ศิริผล ดีไซเนอร์จาก KBTG ซึ่งได้ใช้กระบวนการออกแบบ DesignOps สร้างงานออกแบบให้กับธนาคารกสิกรไทย

การนำข้อมูลไปใช้งานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์โดยคุณพรชัย พฤกษารัตนนนท์ ผู้อำนวยการ ธุรกิจโออีเอ็ม เดลล์ เทคโนโลยี โซลูชั่น ด้าน Embedded และ Edge ภาคพื้นอินโดจีน การเปิดเผยเบื้องหลังการทำ A/B Testing ของบริษัท agoda ผู้ให้บริการจองที่พักออนไลน์ระดับโลกโดย Mr.Idan Zalzberg VP Data บริษัท Agoda

ห้องสัมมนา IoT Stage by dtac

เจาะลึกในประเด็นฮาร์ดแวร์อัจฉริยะที่อยู่รอบตัวเรา โดยครอบคลุมมิติที่หลากหลาย ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย (Smart Home) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) การเกษตร (Smart Farming) และยานยนต์อัจฉริยะ (Intelligence Mobility)

การนำเทคโนโลยี IoT เข้าไปใช้งานในการทำการเกษตร Smart Farming / Smart Agriculture ซึ่งเป็นแทรนด์การทำเกษตรที่ทันสมัยและช่วยเพิ่มผลผลิตการเกษตรโดย คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ VP, Head of Sustainability Department, Total Access Communication PLC. ผู้นำโครงการด้าน Digital Agriculture ของบริษัท dtac

การนำเทคโนโลยี IoT เข้าไปใช้กับเมืองหาดใหญ่ภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ Smart City กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) ร่วมมือกับบริษัท Cisco โดยคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco และ คุณจิรศักดิ์ นพรัตน์ Chief Technology Officer (CTO) Smart City Project มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากบริษัทนิสสันโดยคุณ Ramesh Narasimhan ประธานของนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) นำเสนอแนวคิดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่ใช้พลังงานสะอาด

การนำเสนอเทคโนโลยีจากบริษัท LINE ประเทศไทยโดยนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้งานร่วมกับบริการของบริษัท LINE โดยคุณจิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ Technology Evangelist จาก LINE Thailand

แนวคิดของบ้านโลกอนาคตที่นำเอาเทคโนโลยี ​IoT เข้ามาใช้ภายใต้แนวคิดบ้านอัจฉริยะ Smart Home ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านสามารถควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในตัวบ้านผ่านทางอุปกรณ์สมาร์ทโฟน โดยคุณไพบูลย์ วงศาสุทธิกุล Senior Vice President – Innovation & Strategic Partnership แสนสิริ และ คุณจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ CTO ของ Siri Ventures

ห้องสัมมนา Cloud Stage by NUTANIX

เจาะลึกในประเด็นเทคโนโลยีคลาวด์ในหลายแง่มุม เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมของการประยุกต์ใช้คลาวด์ในองค์กรไทย

การนำเทคโนโลยี Cloud ไปใช้งานองค์กรตั้งแต่การวางโครงสร้างจนถึงการใช้งานจริงในองค์กรโดย คุณสุรักษ์ ธรรมรักษ์ System Engineer Manager, Nutanix Thailand การเปลี่ยนการใช้งาน ​Clound จากรูปแบบภายในองค์กร Private Cloud เป็นรูปแบบ Public Cloud โดยการใช้รูปแบบ ​Hybrid Cloud ในระยะเบื้องต้นก่อนเปลี่ยนผ่านเป็น Public Cloud เต็มรูปแบบ โดยคุณนพดล เจริญทอง Head of General Business for Thailand and Emerging จาก SAP Indochina และคุณวิริยะ โฆษะวิสุทธิ์ Executive Director จาก ExxonMobil

ประเด็นความปลอดภัยผ่านทางการออกกฏหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยดร. ภูมิ ภูมิรัตน์ Expert member of National Cybersecurity Preparation Committee จากบริษัท Microsoft Thailand

การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้งานเพื่อลดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนโดยคุณพงศ์พีระ ชวาลาธวัช Vice President, Solution Integration Group บริษัท Metro Systems

บริการ Elasticsearch เอนจินต์สำหรับการทำระบบค้นหาและวิเคราะห์ ก่อนจะกลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานซอฟต์แวร์บนคลาวด์ จากบริษัท Amazon Web Services (AWS) โดยคุณพงษ์สันติ์ สายัมพล Solution Architect จากบริษัท Amazon Web Services รวมไปถึงความปลอดภัยของระบบธนาคารในประเทศไทยโดยดร.ฉกรรจ์ พราหมณ์แก้ว Blockchain Architect, National Digital ID (NDID) คุณพนิต เวชศิลป์ VP Mobile Development, Siam Commercial Bank และคุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธ์ SVP IT Strategy, Management & Governance Technology Group, Krungthai Bank

แขกรับเชิญพิเศษห้องสัมมนาหลัก Main Stage by AIS

คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจได้ขึ้นเวทีบรรยายในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy ระบบขนส่ง Hyperloop จะกลายเป็นเทคโนโลยีการขนส่งหลักเป็นคลื่นลูกที่ 5 เป็นตัวเลือกที่มีความคุ้มค่ามากกว่ารถไฟความเร็วสูง 

ในระหว่างปี 1960 ถึงปี 2008 มีประเทศที่มีรายได้ปานกลาาง 101 ประเทศแต่พบว่ามีเพียง 13 ประเทศเท่านั้นที่สามารถหลุดจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง โดยมี 5 ประเทศในเอเชียรวมอยู่ด้วยเช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศในเอเชียเหล่านี้ล้วนมีนวัตกรรมของตัวเองทั้งสิ้น

การเติบโตของประเทศมีด้วยกัน 3 รูปแบบได้แก่
1. Path Followering Strategy การเป็นผู้ตามนวัตกรรม
2. Path Skipping Strategy การก้าวกระโดดข้ามนวัตกรรม
3. Path Creating Strategy การเป็นผู้สร้างนวัตกรรม

เทคโนโลยี Hyperloop โอกาสสำคัญที่ในการทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในภูมิภาค กลายเป็นประเทศผู้นำด้านนวัตกรรม Hyperloop ตั้งแต่ต้นนวัติกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำได้โดยไม่จำเป็นต้องรอซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ใน ขณะเดียวกันการพัฒนาเทคโนโลยีเดิมก็ทำควบคู่ไปด้วย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำได้เลยในทันที เช่น การสร้างรถไฟรางคู่ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า

นอกจากนี้คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจยังนำเสนอการนำเทคโนโลยี IoT ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถลดพนักงานที่เป็นมนุษย์แต่สามารถเพิ่มยอดการผลิตได้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นมาใช้ในโรงงานอุตสหกรรมที่คุณธนาธรเคยบริหารงานมากถึง 1,715 ตัว รวมไปถึงเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองของโรงงานเสมือนจริงเพื่อทดสอบระบบต่าง ๆ ในการทำงานก่อนการก่อสร้างสายการผลิตจริง เพื่อลดข้อผิดพลาดและเวลาในการติดตั้งระบบสายการผลิตต่าง ๆ

คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจที่ให้เกียรตินำเสนอข้อมูลการรวมทีม Araone Hyperloop นักศึกษาไทยที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Hyperloop Pod Competition ซึ่งหากทีมทำได้สำเร็จตามแผนการที่วางเอาไว้จะเป็นทีมแรกของประเทศไทยที่สามารถพัฒนาต้นแบบ Hyperloop โดยคนไทยเพื่อเข้าร่วมกันการแข่งขัน Hyperloop Pod Competition ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประมวลภาพงาน Blognone Tomorrow 2019

ภาพผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone กับป้ายขนาดใหญ่ของงาน
บรรยากาศในห้องสัมมนาหลัก Main Stage by AIS
บรรยากาศภายนอกของห้องสัมมนา
บรรยากาศในห้องสัมมนา IoT Stage by dtac
บรรยากาศในห้องสัมมนาหลัก Main Stage by AIS

ที่มาของข้อมูล

Blognone.com

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation