จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 6 ของอาเซียน
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยกับประชากรทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 6 ของอาเซียนข้อมูลอ้างอิงจาก World Bank ที่ได้ทำการสำรวจข้อมูลผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจนถึงปี 2012 หากนับเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนจะสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้
- Singapore มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 74.18% ของประชากรทั้งประเทศ
- Malaysia มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 65.8% ของประชากรทั้งประเทศ
- Brunei Darussalam มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 60.27% ของประชากรทั้งประเทศ
- Vietnam มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 39.49% ของประชากรทั้งประเทศ
- Philippines มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 36.24 ของประชากรทั้งประเทศ
- Thailand มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 26.5% ของประชากรทั้งประเทศ
- Indonesia มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 15.36% ของประชากรทั้งประเทศ
- Lao PDR มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.75% ของประชากรทั้งประเทศ
- Cambodia มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4.94% ของประชากรทั้งประเทศ
- Myanmar มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1.07% ของประชากรทั้งประเทศ
- Timor-Leste มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 0.91% ของประชากรทั้งประเทศ
การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศอาเซียนเริ่มมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1994 ตอนนั้นผมยังเด็กมาก ๆ
และไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ ในช่วงเริ่มต้นนั้นประเทศไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ยังไม่ได้ได้มีจำนวน
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยที่ต่างกันมากนักแต่เมื่อผ่านไปหลายปีถ้ามองจากกราฟจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้ได้ทิ้งห่างประเทศไทยออกไปเรื่อย ๆ หรือแม้แต่กระทั่งประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ที่เริ่มแซงประเทศไทยในปี 2009 เป็นต้นมา
ที่มาของกราฟ : Google.com/Publicdata
จำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดทั้งหมดของการพัฒนา
จำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่งเท่านั้นการพัฒนามีหลากหลายประเด็นที่เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น การส่งเสริม การลงทุน โอกาสในทางธุรกิจ จำนวนบุคลากรด้านไอที ภาษีและประเด็นอื่น ๆ ประเทศไหนให้ความสำคัญและรัฐบาลสามารถกระจายโอกาศได้ทั่วถึงในประเด็นเหล่านี้ก็จะมีความสามารถในการแข่งขันสูง ตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น เกาหลีใต้ วันนี้เกาหลีใต้กำลังกลายเป็นเมืองหลวงของเทคโนโลยีของโลกสายการผลิตสินค้าเทคโนโลยีชิ้นสำคัญ ๆ ของโลกจะต้องมีชื่อประเทศเกาหลีใต้เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ
ที่มาของข้อมูล
Google.com/Publicdata, World Bank