SpaceX กำลังจะทดสอบจรวดผลักดันที่สามารถลงจอดบนฐานได้ในเร็ว ๆ นี้

เว็บไซต์ต่างประเทศหลายแห่งรายงานตรงกันว่า SpaceX บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศกำลังจะทดสอบจรวดผลักดันรูปแบบใหม่ที่ใช้ส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศขึ้นไปสู่ความสูงที่ต้องการและจรวดสามารถเดินทางกลับมาลงจอดบนฐานได้เพื่อเติมเชื้อเพลิงและใช้งานในภาระกิจถัดไป จรวดผลักดันรุ่นนี้มีชื่อว่า Falcon 9 เคยทดสอบการลงจอดมาแล้วครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแต่เกิดความผิดพลาดระเบิดขณะลงจอดบนฐานกลางทะเล ดังนั้นการทดสอบจรวดผลักดันที่จะเกิดขึ้นในเร็วนี้ ๆ จะเป็นการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดของภาระกิจครั้งที่ผ่านมา

นอกจากบริษัท SpaceX ยังมีบริษัท Blue Origin ที่กำลังเดินหน้าพัฒนาจรวดรูปแบบใหม่นี้โดย Blue Origin เพิ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบส่งจรวดไปเมื่อวันที่ 23 พฤษจิกายนที่ผ่านมาสามารถส่งจรวดทะยานขึ้นสู่ความสูง 329,839 ฟิต (100.5 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก) ด้วยความเร็วเหนือเสียง Mach 3.72 (เร็วกว่าเสียงเกือบ 4 เท่า) แต่จุดที่แตกต่างระหว่างจรวดของ Blue Origin และจรวดของ SpaceX คือมีขนาดของจรวดที่เล็กกว่า

SpaceX ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีจรวดที่สามารถเดินทางกลับมาจอดที่ฐานเพื่อต้องการลดต้นทุนในการขนส่งจรวดผลักดัน เนื่องจากจรวดในรูปแบบเดิมนั้นหลังจากขึ้นไปสู่ความสูงที่ต้องการเชื้อเพลิงหมดก็จะถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกหรือบางครั้งก็ถูกทิ้งลงไปในทะเลทำให้ใช้ต้นทุนที่สูงมาก ในขณะที่จรวดรูปแบบใหม่นี้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ต้นทุนจึงเหลือแค่เชื้อเพลิงที่ต้องเติมในแต่ละภาระกิจ ​SpaceX เป็นบริษัทที่เคยทำงานภาระกิจร่วมกับนาซ่าเช่นการนำยานอวกาศ ​Dragon Space Capsule เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ ​ISS รวมถึงภาระกิจขนส่งมนุษย์อวกาศในอนาคต

ภาพฐานจอดของจรวดที่ถูกออกแบบให้ลอยอยู่กลางทะเล

spacex-floating-platform copy

ภาพจำลองการลงจอดของจรวด Falcon 9

screen_shot_2015-01-27_at_5.17.00_pm

คลิปจำลองจรวด Falcon 9

https://www.youtube.com/watch?v=gAhRpFojYM4

ที่มาของข้อมูล
youtube.com/spacexchannel , mashable.com , flickr.com/photos/spacexphotos

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *