บริษัท Rocket Lab ผู้ให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด ​Electron

บริษัท Rocket Lab ผู้ให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศก่อตั้งเมื่อปี 2006 โดย Peter Beck ชาวนิวซีแลนด์ถือเป็นบริษัทที่เข้าร่วมแข่งขันในธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งอวกาศบริษัทแรกที่ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ ในปี 2010 บริษัทได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้โครงการ Operationally Responsive Space Office (ORS) เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กต้นทุนต่ำ ​NanoSatellites ขึ้นสู่วงโคจรของโลก

บริษัทได้รับเงินทุนจำนวนมากจากบริษัทต่าง ๆ เพื่อพัฒนาจรวดขนส่งดาวเทียมขนาดเล็ก ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Buntington Beach รัฐแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา เป้าหมายของบริษัท Rocket Lab เพื่อพัฒนาจรวดขนส่งอวกาศที่มีประสิทธิภาพและลดช่องว่างการเข้าถึงบริการขนส่งอวกาศ

จรวด Ātea-1 ก้าวเล็ก ๆ ของบริษัท Rocket Lab

จรวดลำแรกของบริษัทชื่อ Ātea-1 ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงโพลิเมอร์ผสมไฮโดรเจนออกไซด์เหลว จรวดมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัมความเข้าประมาณ 6 เมตร บรรทุกสำภาระน้ำหนัก 2 กิโลกรัม สามารถทะยานขึ้นสู่อวกาศที่ระดับความสูง 100 กิโลเมตร ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2009 จากบริเวณเกาะเกรทเมอร์คิวรี่ ประเทศนิวซีแลนด์ หลังจากนั้นบริษัท Rocket Lab มีโครงการทดสอบจรวด Ātea-2 แต่ยกเลิกไปในภายหลัง

จรวด Electron จรวดทรงพลังของบริษัท Rocket Lab

จรวด Electron จรวดรุ่นที่ 2 ของบริษัท Rocket Lab จรวดถูกออกแบบให้สามารถขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า CubeSats ตัวจรวด Electron มีความสูงประมาณ 17 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 เมตร น้ำหนักจรวดรวมประมาณ 1.5 ตันสามารถบรรทุกดาวเทียมน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัมขึ้นสู่อวกาศระดับวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (SSO) ที่ระดับความสูงประมาณ 500 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก

จรวด Electron แบ่งการทำงานออกเป็น 2 สเตทใช้เครื่องยนต์ Rutherford ที่บริษัท Rocket Lab พัฒนาขึ้นมา ตัวเครื่องยนต์ Rutherford สามารถถูกสร้างขึ้นโดยการพิมพ์แบบ 3D การทดสอบจรวดครั้งแรก (It’s a Test) เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปี 2016 แต่จรวด Electron ไปไม่ถึงวงโคจร การทดสอบครั้งที่สอง (Still Testing) มีขึ้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2018 จรวดสามารถส่งดาวเทียมขนาดเล็ก 3 ดวงจากลูกค้า Planet Labs และ Spire Global ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ

คลิปการทดสอบจรวด Electron ครั้งที่หนึ่ง (It’s a Test)

คลิปการทดสอบจรวด Electron ครั้งที่สอง (Still Testing)

ด้วยต้นทุนในการส่งจรวดแต่ละครั้งที่ต่ำลูกค้ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 156 ล้านบาททำให้บริษัทได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก นอกจากนี้บริษัทยังต้องการพัฒนาจรวด Electron ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่เพื่อเติมเชื้อเพลิงจรวดและทำภารกิจต่อไปภายในเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยต้นทุนการส่งจรวดที่ต่ำมากทำให้การส่งดาวเทียมเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ ลูกค้าระดับองค์กรหน่วยงานของรัฐหรือมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่าง ๆ สามารถส่งดาวเทียมของตัวเองขึ้นสู่วงโคจรได้

ที่มาของข้อมูล
Rocketlabusa.com, en.wikipedia.org/wiki/Rocket_Lab , youtube.com/user/RocketLabNZ, space.skyrocket.de, nzherald.co.nz

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *