นาซ่าค้นพบระบบดาวเคราะห์ชื่อว่า ‘แทรพพิสต์-1’ (TRAPPIST-1) อยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ของนาซ่าค้นพบระบบดาวเคราะห์ชื่อว่า ‘แทรพพิสต์-1’ (TRAPPIST-1) ซึ่งประกอบดาวฤกษ์ 1 ดวงและดาวเคราะห์บริวารทั้งหมด 7 ดวงในจำนวนนี้มีดาวอยู่ 3 ดวงมีขนาดที่ใกล้เคียงกับโลกและอยู่ในเขตวงโคจรรอบดาวฤกษ์ที่อาจเกิดสิ่งมีชีวิตได้ (Habitable Zone) ดาวเคราะห์ที่ค้นพบมีองค์ประกอบเป็นหินและอาจมีของเหลวอยู่บนพื้นผิวของดาว (Liquid Water) บางดวงอาจมีลักษณะเป็นดาวก้อนน้ำแข็งมีทิศทางการหมุนโคจรรอบดาวฤกษ์เป็นลักษณะหันด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ตลอดเวลา การค้นพบในครั้งนี้สามารถช่วยการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพบสิ่งมีชีวิตและเป็นครั้งแรกที่พบดาวเคราะห์จำนวนมากอยู่ในเขตวงโคจรรอบดาวฤกษ์ที่อาจพบสิ่งมีชีวิต

เปรียบเทียบขนาดและพื้นที่อาจเกิดสิ่งมีชีวิตของระบบดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1 กับระบบสุริยะ

ระบบดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1 อยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสงหรือระยะทาง 43,170,113,920 กิโลเมตรตำแหน่งอยู่ห่างจากโลกมากกว่าระบบดาวเคราะห์อัลฟาเซนทอรีเอและอัลฟาเซนทอรีบี (Alpha Centauri A and B) ที่ค้นพบเมื่อปี 2012 ซึ่งตำแหน่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 4 ล้านปีแสงหรือระยะทาง 4,317,011,392 กิโลเมตร สำหรับชื่อของระบบดาวเคราห์แทรพพริสต์ -1 มาจากชื่อของเบียร์ในประเทศเบลเยียมและตั้งใจให้เป็นชื่อที่เหมือนกับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กแทรพพริสต์ (Trappist) ในประเทศชิลีซึ่งค้นพบระบบดาวเคราะห์นี้เป็นครั้งแรกในปี 2016 โดยในตอนแรกค้นพบดาวฤกษ์ 1 ดวงและดาวเคราะห์บริวารเพียง 2 ดวงแต่เมื่อใช้กล้องโทรทรรศ์จากทั่วโลกรวมถึงกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซ่าซึ่งกำลังโคจรรอบโลกส่องค้นหาจึงพบดาวเคราะห์บริวารอีก 5 ดวง

ดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1

ระบบดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1 มีดาวฤกษ์ขนาดเล็ก 1 ดวงอุณหภูมิต่ำซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าดาวเคราะห์บริวารมีของเหลวบนพื้นผิวหรืออาจมีสถานะเป็นน้ำแข็ง ดาวฤกษ์ดวงนี้ปล่อยแสงย่านความถี่สีแดงส่วนวงโคจรของดาวเคราะห์บริวารแต่ละดวงจะโคจรใกล้กันมากจนสามารถมองเห็นพื้นผิวของดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ดาวเคราะห์บริวารทั้งโคจรในลักษณะหันด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ลักษณะคล้ายดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวดาวทั้ง 2 ด้านมีความต่างกันมาก ในปี 2018 นาซามีแผนการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope; JWST) ขึ้นสู่อวกาศ โดยกล้องรุ่นใหม่นี้มีความละเอียดสูงสามารถตรวจจับคาดการองค์ประกอบทางเคมีของน้ำ มีเทน ออกซิเจน โอโซนและส่วนประกอบอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ได้ ตลอดจนอุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต

คลิปอธิบายระบบดาวเคราะห์ ‘แทรพพิสต์-1’

จำลองพื้นผิวดาวเคราะห์โดยใช้ VR มุมมอง 360 องศา

โปสเตอร์ท่องเที่ยวอวกาศ

โปสเตอร์จำลองการเดินทางไปเที่ยวบนดาวเคราะห์ในระบบดาวแทรพพิสต์-1 เนื่องจากเป็นระบบดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กันมากทำให้สามารถมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงตามสีของดาวฤกษ์และสามารถมองเห็นพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ได้อย่างชัดเจนตามของในจินตนาการบนโปสเตอร์ที่นาซ่าเผยแพร่ออกมา

แบบจำลองวงโคจรระบบดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1 (คลิกที่รูปภาพ)

ที่มาของข้อมูล
www.nasa.gov , www.spitzer.caltech.edu , NASA Jet Propulsion Laboratory , exoplanets.nasa.gov

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation